![]() |
ความสัมพันธ์ของฝุ่นละอองที่ดึงมาจากดาวเทียมและการตรวจวัดภาคพื้นดินในภาคเหนือของประเทศไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ณิชกุล ชาติทรัพยสิทธิ |
Title | ความสัมพันธ์ของฝุ่นละอองที่ดึงมาจากดาวเทียมและการตรวจวัดภาคพื้นดินในภาคเหนือของประเทศไทย |
Contributor | พิชญ์นรี ลลิตาภรณ์ |
Publisher | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม |
Journal Vol. | 18 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 72-89 |
Keyword | ความลึกเชิงแสงของละอองลอย (AOD), ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน, ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน, ดาวเทียม, VIIRS |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM |
Website title | วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม Jornal of Environmental Management (JEM) |
ISSN | 19065485 |
Abstract | ข้อมูล Aerosol Optical Depth (AOD) หรือ ความลึกเชิงแสงของละอองลอย ในบรรยากาศที่ได้จากดาวเทียม Suomi-NPP VIIRS ถูกนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (Particulate matter: PM) ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5 ) และฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศภาคพื้นดินของกรมควบคุมมลพิษในประเทศไทย โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน ในส่วนแรกเป็นการเปรียบเทียบการดึงข้อมูล AOD ที่ขนาดพื้นที่แตกต่างกัน 6 ขนาด ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง AOD-PM พบว่า ขนาดพื้นที่ 0.5?x0.5? และ 0.2?x0.2? มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient: R) สูงที่สุด ในส่วนที่สองเป็นการสร้างแบบจำลองเพื่อคาดการณ์ค่า PM โดยพิจารณาร่วมกับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity: RH) , อุณหภูมิ (Temperature: T) และความเร็วลม (Wind speed: WS) พบว่า ความชื้นสัมพัทธ์เป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดสำหรับการคาดการณ์ค่า PM ซึ่งจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ Estimated PM (ค่า PM ที่ได้จากการคาดการณ์ด้วยสมการแบบจำลอง) กับ Observed PM (ค่า PM ที่ได้จากการตรวจวัดจริง) พบว่า Estimated PM2.5 - Observed PM2.5 และ Estimated PM10 - Observed PM10 มีค่า R อยู่ในช่วง 0.47-0.81 และ 0.62-0.81 ตามลำดับ ซึ่งให้ค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย (RMSE) สำหรับการคาดการณ์อยู่ในช่วง 13.60-55.43 ?g/m? และ 19.38-33.95 ?g/m? ตามลำดับ |