รหัสดีโอไอ | 10.14456/jarst.2022.15 |
---|---|
Creator | พชรวรรณ รัตนทรงธรรม |
Title | การเตรียมฟิล์มพลาสติกชีวภาพผสมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระหว่างพอลิไวนิลแอลกอฮอลล์และเซลลูโลสที่สกัดจากก้านใบบัวหลวง |
Contributor | - |
Publisher | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Publication Year | 2022 |
Journal Title | Journal of Applied Research on Science and Technology (JARST) |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 26-38 |
Keyword | พลาสติกชีวภาพ, ก้านใบบัวหลวง, เซลลูโลส, พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/ |
Website title | https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rmutt-journal/index |
ISSN | 2773-9376 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมฟิล์มชีวภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระหว่างพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ (PVA) และเซลลูโลส (CL) ที่สกัดจากก้านใบบัวหลวงโดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จากนั้นฟอกขาวเส้นใยด้วยสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ปริมาณของเซลลูโลสที่สกัดได้สูงสุดเท่ากับร้อยละ 21.471.53 ต่อน้ำหนักแห้งของก้านใบบัวหลวง เตรียมฟิล์มชีวภาพผสมที่อัตราส่วนต่าง ๆ โดยน้ำหนัก คือ 90:10 (PVA-CL10) 80:20 (PVA-CL20) 70:30 (PVA-CL30) 60:40 (PVA-CL40) และ 50:50 (PVA-CL50) ด้วยวิธีการหล่อขึ้นรูปด้วยสารละลาย จากการวิเคราะห์โครงสร้างและหมู่ฟังก์ชันของฟิล์มด้วยเทคนิค FT-IR พบว่าการสกัดเซลลูโลสด้วยกระบวนการข้างต้นสามารถกำจัดเฮมิ-เซลลูโลสและลิกนินออกจากเส้นใยก้านใบบัวหลวงได้ดี ผลการศึกษาสันฐานวิทยาของฟิล์มด้วยเครื่องอิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) แสดงให้เห็นว่าลักษณะพื้นผิวของฟิล์มจะมีความขรุขระมากขึ้นเมื่อปริมาณของ CL เพิ่มขึ้น ผลการศึกษาความสามารถในการดูดซับน้ำและความสามารถในการแพร่ผ่านไอน้ำของฟิล์มแสดงให้เห็นว่า ฟิล์ม PVA-CL ในทุกอัตราส่วน จะมีค่าการดูดซับน้ำลดลงเมื่อเทียบกับฟิล์ม PVA และเมื่อเพิ่มปริมาณ CL จะส่งผลให้ค่าร้อยละการดูดซับน้ำของฟิล์มมีค่าสูงขึ้น แต่ความสามารถในการแพร่ผ่านไอน้ำของฟิล์มจะลดลง โดยฟิล์มที่มีค่าร้อยละการดูดซับน้ำและความสามารถในการแพร่ผ่านไอน้ำสูงที่สุด คือฟิล์ม PVA-CL50 (97.490.29) และ PVA-CL10 (358 g/hr. m2) ตามลำดับ โดยฟิล์มที่มีปริมาณ CL มากจะสามารถย่อยสลายในธรรมชาติได้ดี |
ดิจิตอลไฟล์ |
Digital File |