![]() |
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์กับระดับความสามารถทางฟิสิกส์ ที่มีต่อพัฒนาการความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธันยบูรณ์ ธัญลักษณ์มะระ |
Title | ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์กับระดับความสามารถทางฟิสิกส์ ที่มีต่อพัฒนาการความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
Contributor | กมลวรรณ ตังธนกานนท์ |
Publisher | ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ |
Publication Year | 2564 |
Journal Title | วารสารครุศาสตร์ |
Journal Vol. | 49 |
Journal No. | 3 |
Page no. | EDUCU4903001 (14 หน้า) |
Keyword | ปฏิสัมพันธ์, ข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบ, ความสามารถทางฟิสิกส์, ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/index |
Website title | วารสารครุศาสตร์ (Journal of Education Studies) |
ISSN | 2651-2017 |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์ (ลดความคล้าย เพิ่มความคล้าย ความคล้ายคงที่ และบอกคำตอบที่ถูกต้อง) กับระดับความสามารถทางฟิสิกส์ (สูง ปานกลาง และต่ำ) ที่มีต่อพัฒนาการความสามารถของนักเรียน และ 2) เปรียบเทียบพัฒนาการความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนในแต่ละระดับความสามารถทางฟิสิกส์ที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 73 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบฝึกหัดการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ด้วยคอมพิวเตอร์ และแบบสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัย พบว่า 1) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบกับระดับความสามารถทางฟิสิกส์ต่อพัฒนาการความสามารถอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนที่มีความสามารถระดับสูงที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับต่างประเภทกันมีพัฒนาการความสามารถไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่มีความสามารถระดับปานกลางที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบลดความคล้ายและแบบความคล้ายคงที่ รวมถึงนักเรียนที่มีความสามารถระดับต่ำที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบความคล้ายคงที่มีพัฒนาการความสามารถสูงกว่าแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |