![]() |
การนำนโยบาย"อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน"สู่การปฏิบัติในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2555 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พรทิพย์ ใจเพชร |
Title | การนำนโยบาย"อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน"สู่การปฏิบัติในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2555 |
Contributor | ถวิล หนูวงศ์, สุรชาติ โกยดุลย์, รุจธเนศ เรืองพุทธ |
Publisher | กองแผนงาน |
Publication Year | 2556 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 39 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 155-167 |
Keyword | อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การวิจัยประเมินผลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความตรง ความครอบคลุม ความเชื่อมโยง ความยืดหยุ่น และความเป็นไปได้ของเนื้อหาของนโยบาย "อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน" 2) ตรวจสอบกระบวนการและขั้นตอนในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 3) ประเมินผลลัพธ์ของการนำนโยบายอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติในปีงบประมาณ 2555 พื้นที่ศึกษาคือ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบนซึ่งได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง กระบี่ พังงา ภูเก็ต ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 ถึงเดือนกรกฎาคม 2555 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 147 คน ประกอบด้วย ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน ในการนำนโยบายอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินการมีระบบกลไกการบริหารจัดการของจังหวัดและเกณฑ์การประเมินอำเภอตามคุณลักษณะ 5 ด้าน การตรวจสอบเอกสารจากรายงานผลการดำเนินงานการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการตรวจสอบเนื้อหาเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาของนโยบายมีความตรงอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ความครอบคลุม ความเชื่อมโยง ความยืดหยุ่น และมีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับกระบวนการและขั้นตอนการนำนโยบายอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติตั้งแต่ระดับกรมควบคุมโรค เขต จังหวัด อำเภอ จนถึงตำบล ผลการประเมินพบว่าหน่วยงานส่วนใหญ่ใช้รูปแบบการประชุมและการถ่ายทอดมีความชัดเจนและครอบคลุมถึงระดับผู้ปฏิบัติทุกจังหวัด แต่กลวิธีในการถ่ายทอดของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันบ้าง สำหรับผลลัพธ์ของการนำนโยบายอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติในช่วง 2 ปีแรก ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 7 จังหวัด (ร้อยละ 100) มีระบบกลไกการบริหาร |