ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาอาร์ติมิเตอร์-ลูมีแฟนทรีน (Artemether-Lumefantrine: Coartem? ในการรักษาผู้ป่วยมาลาเรียชนิด Plasmodium falciparumที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนที่จังหวัดระนองและจังหวัดตาก
รหัสดีโอไอ
Creator วิชัย สติมัย
Title ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาอาร์ติมิเตอร์-ลูมีแฟนทรีน (Artemether-Lumefantrine: Coartem? ในการรักษาผู้ป่วยมาลาเรียชนิด Plasmodium falciparumที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนที่จังหวัดระนองและจังหวัดตาก
Contributor คนึงนิจ คงพ่วง
Publisher กองแผนงาน
Publication Year 2556
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 39
Journal No. 2
Page no. 129-138
Keyword เชื้อพลาสโมเดียมฟัลซิพารั่ม อาร์ติมิเตอร์-ลูมีแฟนทรีน จังหวัดระนอง จังหวัดตาก
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract ทางด้านตะวันตกของประเทศติดกับชายแดนไทย-เมียนมาร์ สถานการณ์การลดลงของประสิทธิภาพยารักษามาลาเรียชนิด Plasmodium falciparum ต่อยาผสมอาร์ติซูเนต-เมฟโฟลควิน ไม่มากเท่าชายแดนด้านไทย-กัมพูชา แต่ก็มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับชายแดนด้านตะวันตกยังมีผู้ป่วยมาลาเรียจำนวนมากกว่าด้านตะวันออก การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาทางเลือกของยาที่จะนำมาใช้ทดแทน โดยศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาผสมอาร์ติมิเตอร์-ลูมีแฟนทรีน ซึ่งเป็นยาผสมในเม็ดเดียวกัน ขนาดมาตรฐานคือ 6-doses ตัวอย่างศึกษาเป็นผู้ป่วยมาลาเรียฟัลซิพารั่มชนิดเฉียบพลันที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนที่มารับการรักษาที่มาลาเรียคลินิกจำนวน 2 แห่ง ในจังหวัดระนอง และมาลาเรียคลินิกจำนวน 3 แห่ง ในจังหวัดตากระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2555 ใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วยตามเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกในการศึกษาประสิทธิภาพยารักษามาลาเรีย ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจะได้รับการรักษาด้วยยาผสมอาร์ติมิเตอร์-ลูมีแฟนทรีนรับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น และติดตามผลการรักษา 42 วัน ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการจำนวน 92 ราย ภายหลังจากที่คัดผู้ป่วยที่ไม่เข้าเกณฑ์และผู้ป่วยที่มารับการติดตามผลการรักษาไม่ครบแล้ว มีผู้ป่วยที่สามารถนำมาประเมินผลการศึกษาได้จำนวน 79 ราย เป็นผู้ป่วยจังหวัดระนอง 46 รายและผู้ป่วยจังหวัดตาก 33 ราย เมื่อประเมินผลที่ 28 วัน พบว่าอัตราการรักษาหาย(ACPR) ของจังหวัดระนองและจังหวัดตากเท่ากับร้อยละ 93.5 (ร้อยละ 95 CI = ร้อยละ 82.5 -ร้อยละ 97.8) และร้อยละ 93.9 (ร้อยละ 80.3 -ร้อยละ 98.3) ส่วนการประเมินผลที่ 42 วัน พบว่าอัตราการรักษาหายของจังหวัดระนองลดลงแต่ของจังหวัดตาก ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดย ACPR (ร้อยละ 95 CI) ของจังหวัดระนอง และจังหวัดตากเท่ากับ ร้อยละ 90.9 (ร้อยละ 78.8 -ร้อยละ 96.4) และ ร้อยละ 93.5 (ร้อยละ 79.3 -ร้อยละ 98.2) ตามลำดับ เมื่อทดสอบทางสถิติไม่พบความแตกต่างของอัตราการรักษาหายของผู้ป่วย จากทั้งสองจังหวัดนี้ (p>0.05) ผลการศึกษาครงั้ นสี้ รุปไดว้ า่ ยาอารต์ ิมิเตอร-์ ลูมีแฟนทรีน มีประสิทธิภาพดี ในการรักษาผปู้ ว่ ยติดเชอื้ มาลาเรียฟลั ซิพารมั่ ชนิดเฉียบพลันที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน และมีความปลอดภัยสูง ผู้ป่วยสามารถทนต่อยาได้ดี จึงสามารถนำยาอาร์ติมิเตอร์-ลูมีแฟนทรีน มาใช้เป็น ทางเลือกยาขนานแรกในการรักษาผู้ป่วยมาลาเรียฟัลซิพารั่มในประเทศไทยได้แต่ต้องมีการติดตามเฝ้าระวัง เรื่องผู้ป่วยจะรับประทานยาครบขนานหรือไม่เมื่อผู้ป่วยรับยาไปทานเองที่บ้านเนื่องจากต้องทานวันละ 2 ครั้ง
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ