![]() |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการชายแดนระดับอำเภอในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | รวิสรา จิรโรจน์วัฒน |
Title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการชายแดนระดับอำเภอในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา |
Contributor | กุลยา เชี่ยวโสธร, อุดมศักดิ์ อิ่มสว่าง |
Publisher | กองแผนงาน |
Publication Year | 2556 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 39 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 75-81 |
Keyword | โรคติดต่อ ชายแดนไทย-กัมพูชา การเฝ้าระวังป้องกัน |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่และปัญหาอุปสรรค ของคณะกรรมการชายแดนระดับอำเภอ ในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อในกลุ่มแรงงานข้ามชาติตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับผลการดำเนินงานฯ สำรวจความคิดเห็นของคณะกรรมการฯ พื้นที่ อ.สอยดาว อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี และ อ.บ่อไร่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด จำนวน 87 คน โดยใช้แบบสอบถาม นำมาหาอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย S.D. และหาค่าความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่า คณะกรรมการชายแดนส่วนใหญ่จบการศึกษาปริญญาตรี เป็นหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ร้อยละ 12.8 เคยอบรมด้านการบริหารและเป็นกรรมการร่วมกับหน่วยงานอื่น ร้อยละ 46.0 และ 81.6 ตามลำดับ คณะกรรมการฯนอกจากดูแลด้านความมั่นคงแล้ว ยังร่วมเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในแรงงานฯ เมื่อได้รับการประสานจากสาธารณสุขอำเภอ ไม่มีการกำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ทำให้ขาดการวิเคราะห์ปัญหา เป้าหมายและวางแผนแก้ปัญหาร่วมกันแต่ละหน่วยงานมีข้อจำกัดด้านบุคลากร งบประมาณ และพบปัญหาการสื่อสารกับนายจ้างที่จะเข้าดูแลปัญหาสุขภาพของแรงงานฯ ทั้งนี้ปัจจัยทั้งด้านนโยบาย โครงสร้างคณะกรรมการฯ การมีส่วนร่วม ทัศนคติต่อแรงงานฯ และแรงจูงใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวก กับผลการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ทั้งด้านการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การประสานงาน และความพึงพอใจต่อการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) โดยปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม จะมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการวางแผนและการปฏิบัติงานตามแผนในระดับสูง นอกนั้นส่วนใหญ่อยู่ระดับปานกลาง จึงควรให้คณะกรรมการฯมีส่วนร่วมวิเคราะห์ ค้นหาปัญหา กำหนดเป้าหมายและหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน เพื่อให้การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในแรงงานฯ สามารถรองรับปัญหาการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเชียนในอนาคตได้มากขึ้น |