![]() |
ความชุกของซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2552 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศณิษา ตันประเสริฐ |
Title | ความชุกของซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2552 |
Contributor | ภาวินี ด้วงเงิน, สมบัติ แทนประเสริฐสุข |
Publisher | กองแผนงาน |
Publication Year | 2556 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 39 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 58-66 |
Keyword | ซิฟิลิสแต่กำเนิด ประเทศไทย หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นซิฟิลิส |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก ข้อมูลการรักษา หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นซิฟิลิส ซิฟิลิสแต่กำเนิด ศึกษาผลการตั้งครรภ์และผลกระทบที่มีต่อทารก เพื่อทราบการดำเนินการเมื่อพบหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นซิฟิลิส ตั้งแต่ ตุลาคม 2551 ถึง กันยายน 2552 ทำโดยศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนของหญิงตั้งครรภ์ที่ผลตรวจพบซิฟิลิส สามี และทารก ที่มารับบริการในโรงพยาบาลทุกแห่งใน 8 จังหวัดจากทุกภาคของประเทศไทย และโรงพยาบาลอีก 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือนคือ พฤษภาคม 2553 ถึง เมษายน 2554 ข้อมูลจาก 150 โรงพยาบาลที่เข้าร่วมพบว่า หญิงตั้งครรภ์มากกว่าร้อยละ 99 ได้รับการตรวจคัดกรองซิฟิลิส ร้อยละ 0.16 มีผลบวกต่อการตรวจคัดกรองและร้อยละ 0.14 มีผลบวกต่อการตรวจยืนยัน มีหญิงตั้งครรภ์ 103 คน และเด็กทารก 14 คน (0.10 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน) ที่เข้าได้กับนิยามซิฟิลิสบวกของการศึกษา ทุกโรงพยาบาลสามารถตรวจคัดกรองซิฟิลิสได้ แต่ปัญหาที่พบบ่อยคือการติดตามสามี มาตรวจกรณีภรรยามีผลบวก และปัญหาการติดตามหลังการรักษาของหญิงตั้งครรภ์ สามี และทารก เนื่องจากการไปรักษาต่อที่อื่น ข้อมูลจากแพทย์พบว่าส่วนมากยังไม่เคยเห็นแนวทางการรักษาซิฟิลิส จากสำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงมีหลายหน่วยงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่เก็บข้อมูลเรื่องซิฟิลิสแต่ไม่มีการเชื่อมโยงและการวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษาพบว่ามีตัวชี้วัดที่ผ่านเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก คือ มีความชุกของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นซิฟิลิส ซิฟิลิสแต่กำเนิด ต่ำ สัดส่วนหญิงตั้งครรภ์ สามี และทารก ได้รับการตรวจและการรักษาสูง หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ได้รับการตรวจคัดกรองซิฟิลิสอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ที่ไม่ผ่านเกณฑ์คือสัดส่วนของซิฟิลิสแต่กำเนิดที่ได้รับการรักษา ถึงแม้ว่าซิฟิลิสจะเป็นโรคที่สามารถป้องกันรักษาได้ และยังทำให้เกิดผลเสียได้มากต่อทารก แต่บุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสนใจกับโรคนี้เท่าที่ควรการเน้นย้ำปัญหานี้กับบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรจะทำให้ปัญหานี้ลดน้อยลงได้ |