![]() |
ความชุกของเชื้อเอชไอวีดื้อยาปฐมภูมิในผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์ของสถาบันบำราศนราดูร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วิโรจน์ หมั่นคติธรรม |
Title | ความชุกของเชื้อเอชไอวีดื้อยาปฐมภูมิในผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์ของสถาบันบำราศนราดูร |
Contributor | อรุณ เหลืองนิยมกุล, วีรวัฒน์ มโนสุทธิ |
Publisher | กองแผนงาน |
Publication Year | 2556 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 39 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 43-50 |
Keyword | เชื้อเอชไอวีดื้อยาปฐมภูมิ สถาบันบำราศนราดูร |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | หลังจากประเทศไทยมีการเร่งการเข้าถึงยาต้านไวรัสแก่ผู้ป่วยเอชไอวีมานานมากกว่า10 ปี พบว่ามีการระบาดของเชื้อเอชไอวีดื้อยาในประชากรเกิดขึ้น การศึกษาครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ผลการตรวจเชื้อดื้อยาก่อนเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์ร่วมกับวัณโรคที่เป็นอาสาสมัครของโครงการวิจัย "การเริ่มสูตรยาชนิดรับประทานวันละครั้งที่ประกอบด้วยยาทีโนโฟเวียร์ ลามิวูดีนและอีฟาวิเรนซ์ ที่ 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับที่ 12 สัปดาห์ภายหลังจากการรักษาวัณโรคในผู้ป่วยเอชไอวี" ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 - พฤษภาคม พ.ศ.2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการพบเชื้อดื้อยาปฐมภูมิในผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์ชาวไทย จำนวนกลุ่มตัวอย่างมี 155 ราย อายุเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 37.9 (8.7) ปีและร้อยละ 78.1 เป็นเพศชาย ค่ามัธยฐาน (พิสัยระหว่างควอร์ไทล์) ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 เท่ากับ 42 (17-107) เซลล์/ลบ.มม. ความชุกของเชื้อเอชไอวีดื้อยาปฐมภูมิเท่ากับร้อยละ 3.9 จำแนกเป็นดื้อยากลุ่ม nucleoside analogue reverse transcriptase inhibitors ร้อยละ 1.3 ยากลุ่ม nonnucleoside reverse transcriptase inhibitors ร้อยละ 1.9 และยากลุ่ม protease inhibitors ร้อยละ 0.6 ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ของอายุ เพศ น้ำหนักตัว ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ในเลือด ปริมาณเชื้อเอชไอวีในเลือด สายพันธุ์ย่อยของเชื้อเอชไอวี และปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีในระหว่างกลุ่มที่มีกับไม่มีเชื้อดื้อยาปฐมภูมิ ควรมีการศึกษาเชิงสำรวจของเชื้อดื้อยาปฐมภูมิในผู้ป่วยเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ทราบถึงแนวโน้มของการระบาดของเชื้อเอชไอวีดื้อยาในประเทศไทย |