การประเมินผลโครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชนในการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดกำแพงเพชร
รหัสดีโอไอ
Creator ลออศรี จารุวัฒน์
Title การประเมินผลโครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชนในการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดกำแพงเพชร
Contributor ศุภชัย คำหนู, น้ำค้าง ฉ่ำสอน
Publisher กองแผนงาน
Publication Year 2556
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 39
Journal No. 1
Page no. 22-29
Keyword การประเมินผล โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลการดำเนินการ และปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินการโครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน ในการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่งานโรคไม่ติดต่อ จำนวน 101 คน และประชาชนที่รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 480 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2555 ผลการศึกษาพบว่าเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการโครงการฯ ร้อยละ 95.0 เห็นว่าโครงการมีความเหมาะสมและประชาชนที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ ร้อยละ 94.0 มีความต้องการตรวจค้นหาการป่วยหรือความเสี่ยงของโรค ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ร้อยละ 65.3 เห็นว่าได้รับงบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอ ร้อยละ 55.4 มีวัสดุอุปกรณ์พร้อม / เพียงพอ และร้อยละ 50.5 สถานที่ในการดำเนินการไม่พร้อม แต่สามารถดำเนินการได้ส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.3 มีจำนวนบุคลากร ดำเนินการโครงการไม่เพียงพอ ด้านกระบวนการพบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.1 หมู่บ้าน/ชุมชนมีการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ในการวางแผนงาน/โครงการ ด้านผลการดำเนินการพบว่า มีหมู่บ้าน/ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค ลดเสี่ยงถึงร้อยละ 95.0 สถานบริการสุขภาพทุกแห่งมีฐานข้อมูลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 92.5 ทั้งนี้ ร้อยละ 59.8 มีความพึงพอใจในระดับสูง ร้อยละ 69.1 มีความตระหนักในการจัดการ และดูแลสุขภาพตนเองในระดับปานกลาง มีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน / ชุมชน เพื่อลดเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในระดับสูง ร้อยละ 40.7 ปัญหาอุปสรรค คือ เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ งบประมาณไม่เพียงพอ ความร่วมมือของประชาชนน้อย รวมทั้งความไม่เข้าใจในการตรวจ รอตรวจนาน และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาก เป็นต้น
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ