![]() |
ประสิทธิผลโปรแกรมการเลิกบุหรี่และการเปรียบเทียบน้ำหนักตัวและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เดชา มีสุข |
Title | ประสิทธิผลโปรแกรมการเลิกบุหรี่และการเปรียบเทียบน้ำหนักตัวและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ |
Publisher | กองแผนงาน |
Publication Year | 2556 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 39 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 1-13 |
Keyword | การเลิกบุหรี่ น้ำหนักตัว ระดับน้ำตาลในเลือด โรคเบาหวาน |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อน - หลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการเลิกบุหรี่ และเปรียบเทียบน้ำหนักตัว และระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนและหลังการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สูบบุหรี่เป็นประจำนานมากกว่า1 ปี มารับการรักษาที่โรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรสงคราม และยินยอมที่จะร่วมมือในการวิจัย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 130 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ ตามความสมัครใจ กลุ่มละ 65 คน ทั้งนี้ กลุ่มทดลองจะได้รับคำแนะนำให้เลิกบุหรี่ และนำเข้าโปรแกรมการเลิกบุหรี่ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับคำแนะนำให้เลิกบุหรี่เพียงอย่างเดียว เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง 3 เดือน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1. แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง 2. แบบบันทึกการสูบบุหรี่ น้ำหนักตัว และระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, Independent t-test, และ Paired sample t-test ปรากฏผลการศึกษาดังนี้คือ ก่อนการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีความแตกต่างกันในปริมาณการสูบบุหรี่โดยเฉลี่ย (P - value > 0.05) ภายหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีปริมาณการสูบบุหรี่น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.048) เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการสูบบุหรี่ก่อนและหลังการทดลอง ในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า หลังการทดลองมีปริมาณการสูบบุหรี่โดยเฉลี่ยน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับโปรแกรมการเลิกบุหรี่หลังสิ้นสุดการเข้าโปรแกรมการเลิกบุหรี่ สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ ร้อยละ 32.3 เมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักตัวและระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ พบว่าหลังการเลิกบุหรี่มีน้ำหนักตัวและระดับน้ำตาลในเลือดในแต่ละเดือนหลังการทดลอง (1 เดือน 2 เดือน และ 3 เดือน)ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P - value > 0.05)จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเลิกบุหรี่ดังกล่าวมีผลทำให้สามารถลดหรือเลิกการสูบบุหรี่ได้ดังนั้น ควรนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สูบบุหรี่ เพื่อการเลิกบุหรี่ต่อไป |