รหัสดีโอไอ 10.14456/bei.2023.22
Creator อัศนัย เล่งอี้
Title การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง (TOD) (ปี พ.ศ.2540-2564)
Contributor ภาวิณี เอี่ยมตระกูล
Publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Publication Year 2023
Journal Title วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry BEI)
Journal Vol. 22
Journal No. 3
Page no. 81-104
Keyword การวิเคราะห์บรรณานุกรม, การพัฒนาที่ยั่งยืน, การพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่ง, การพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนที่ยั่งยืน
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku
Website title Built Environment Inquiry Journal Faculty of Architecture Khon Kaen University, Thailand
ISSN 2651-1185
Abstract การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนระบบราง (Transit Oriented Development, TOD) เป็นหนึ่งในแนวทางที่สำคัญสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development, SD) อย่างไรก็ตามยังไม่มีใครกล่าวถึงการวิเคราะห์วิวัฒนาการของการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางกับการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน (STOD)จึงจ??ำเป็นต้องระบุช่องว่างของความรู้หรือแนวโน้มการพัฒนาในด้านนี้ บทความนี้ได้ท??ำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ โดยนำข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2564 โดยศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องมากถึง169 ฉบับและวิเคราะห์ด้วย ซอฟต์แวร์ VOSviewer ในการจัดกลุ่มองค์ความรู้และการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านการวิจัยประเภทนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า 1.บทความที่มีการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งที่ยั่งยืนในชื่อเพิ่มขึ้นจาก 1 ในปี พ.ศ.2540 ไปเป็น 103 ในปี พ.ศ.2564 2.วารสารที่มีบทความตีพิมพ์มากที่สุดคือวารสาร Sustainability (Switzerland) รอ้ ยละ 18.2 3.บทความทีมี่การอา้ งองิ สงู สดุ ชื่อ "Suburbanization andtransit-oriented development in China" จำนวน 195 ครั้ง 4.ผู้เขียนที่มีการอ้างอิงมากที่สุด คือ Cervero,Robert จำนวน 534 ครั้ง 5.กลุ่มสีของคำสำคัญแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ "Urban Development" จำนวน 42 ครั้ง"Transportation Development" จำนวน 36 ครั้ง "Land Use" จำนวน 33 ครั้ง "Urban Growth" จำนวน 20ครั้ง 6. วิวัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงของ STOD ใน 25ปี แบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรก (พ.ศ.2540-2544)จะเน้นการวางแผนเมือง ระยะที่ 2 (พ.ศ.2545-2554) เน้นด้านการใช้ที่ดิน และระยะที่ 3 (พ.ศ.2555-2564) มุ่งเน้นในด้านการพัฒนาเมือง สรุปได้ว่าในความแตกต่างของวิวัฒนาการ (TOD) กับ (STOD) ในช่วง 25 ปี มีความเหมือนกันของคำสำคัญอยู่ 8 รายการ คือ 1) Transportation Development 2) Urban Development 3) UrbanPlanning 4) Urban Transport 5) Transportation Planning 6) Public Transport 7) Land Use และ 8) Travel Behavior สามารถเรียกได้ว่าเป็นแกนหลักส??ำคัญของ TOD และ STOD แต่มีความแตกต่างที่มิติการมองของมุมมองหลักไม่เหมือนกันกล่าวคือ มิติการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง (TOD) จะเน้นมุมมองไปที่ "TransportationDevelopment" ส่วนมิติวิวัฒนาการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งที่ยั่งยืน (STOD) จะเน้นมุมมองไปที่ "UrbanDevelopment" การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งที่ยั่งยืน (STOD) ในรอบ 25 ปี เป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ทั่วโลกให้การยอมรับตามผลของการวิจัยนี้ และอนาคตควรใช้ STOD ในทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ควรต้องนำปัจจัยและตัวชี้วัดนี้ไปใช้ในการพัฒนาหรือปรับปรุงโครงสร้างของเมืองเพื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ดิจิตอลไฟล์ Digital File

บรรณานุกรม

อัศนัย เล่งอี้ และ ภาวิณี เอี่ยมตระกูล. (2023) การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง (TOD) (ปี พ.ศ.2540-2564). วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry BEI), 22(3), 81-104.
อัศนัย เล่งอี้ และ ภาวิณี เอี่ยมตระกูล. "การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง (TOD) (ปี พ.ศ.2540-2564)". วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry BEI) 22 (2023):81-104.
อัศนัย เล่งอี้ และ ภาวิณี เอี่ยมตระกูล. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง (TOD) (ปี พ.ศ.2540-2564). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์:ม.ป.ท. 2023.