ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีในการลดการตีตราตนเองในโรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
รหัสดีโอไอ
Creator จิรัฐติกาล สุตวณิชย์
Title ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีในการลดการตีตราตนเองในโรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
Contributor นิอร อริโยทัย, นาวา ผานะวงศ์
Publisher กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
Publication Year 2566
Journal Title วารสารโรคเอดส์
Journal Vol. 35
Journal No. 3
Page no. 127-139
Keyword โปรแกรมลดการตีตราตนเอง, การตีตราและเลือกปฏิบัติ, ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี
URL Website https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/index
Website title เว็บไซต์วารสารโรคเอดส์
ISSN 2985-0371
Abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมลดการตีตราตนเอง โดยการมีส่วนร่วมของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีของโรงพยาบาลอากาศอำนวย ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565-พฤษภาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่รับบริการในคลินิกยาต้านไวรัส โรงพยาบาลอากาศอำนวย จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้มีเชื้อเอชไอวี และโปรแกรมลดการตีตราตนเองของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี รวบรวมข้อมูลจากบันทึกการจัดกิจกรรมกลุ่ม บันทึกการติดตามเยี่ยมรายบุคคล การสังเกตแนวคิดและทักษะการแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจำแนกประเภท วิเคราะห์แบบอุปนัย ตีความหมาย สร้างข้อสรุป และอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า paired t-test ผลการศึกษาพบว่า เมื่อประเมินการตีตราตนเองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้รับบริการมีการ ตีตราตนเองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value <0.0001 โดยการเข้าร่วมทั้ง 3 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 ผลกระทบการตีตราให้ความหมายการตีตรา คือ การถูกกำหนดว่าไม่ดี ด้อยค่า ไม่เท่าคนอื่น เป็นที่รังเกียจ ความกลัวการตีตราเป็นอุปสรรคสำคัญในการเปิดเผยตนเองของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี กลยุทธ์ที่ใช้เพื่อลดปัญหาการตีตราผู้ป่วยด้วยการเสริมสร้างพลังอำนาจด้วยความคิดเชิงบวก กิจกรรมที่ 2 กลุ่มตัวอย่างบอกเคยมีประสบการณ์เมื่อเจอปัญหา สามารถบอกวิธีแก้ปัญหาให้เพื่อนๆ ฟังได้ แต่มีบางปัญหาที่แก้ไม่ได้หรือแก้แล้วยังไม่ดีพอ เมื่อนำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ตารางชั่งน้ำหนักทำให้ได้แนวทางคลี่คลายปัญหา กิจกรรมที่ 3 กลุ่มตัวอย่างได้บอกสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่ชอบที่มีในตัวเอง ผู้วิจัยได้สะท้อนความคิด ความรู้สึก และคะแนนการตีตราตนเองจากกิจกรรมที่ผ่านมา แล้วเชื่อมโยงกับสถานการณ์การเป็นผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี นำข้อดีในตนเองที่ตอบไว้ในบัตรคำมาตั้งคำถามว่าการติดเชื้อเอชไอวีทำให้ความเป็นคนดี ความดีและคุณค่าในตัวเองของเขายังอยู่ การเป็นผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีไม่ได้ทำลายข้อดีในตัวตนของเขาได้
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ