มุมมองต่อความหลากหลายของภาษาอังกฤษกับการใช้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลาง ในบริบทปัจจุบันของไทย
รหัสดีโอไอ
Creator แบร์ พิตต์พันธุ์
Title มุมมองต่อความหลากหลายของภาษาอังกฤษกับการใช้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลาง ในบริบทปัจจุบันของไทย
Contributor -
Publisher Southeast Bangkok University
Publication Year 2566
Journal Title วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
Journal Vol. 9
Journal No. 1
Page no. 140-152
Keyword diversity of English, English as a lingua franca, current use of English in Thailand, English teaching and learning in Thailand
URL Website https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/issue/view/17533
Website title วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
ISSN 26976595
Abstract ในยุคโลกาภิวัตน์ ภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญในหลายด้าน เช่น การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา และการท่องเที่ยว ด้วยความแพร่หลายนี้ทำให้เกิดข้อถกเถียงในแง่คำนิยามของภาษาอังกฤษ คำนิยามใหม่ถูกเสนอขึ้น เช่น ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล ภาษาอังกฤษของโลก และภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลาง คำนิยามใหม่เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นภาษาเฉพาะของกลุ่มคนที่มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่อีกต่อไป เนื่องจากภาษาอังกฤษถูกใช้แพร่หลายโดยคนจากทั่วโลก มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ตามบริบทการใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับบริบทการใช้ภาษาอังกฤษในประเทศไทยนั้น ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่มีความสำคัญมาก โดยปัจจุบันชาวไทยเข้าถึงความหลากหลายของภาษาอังกฤษที่ใช้โดยกลุ่มคนที่มีภาษาแม่ที่แตกต่างกันผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งนี้ ด้วยบริบทการใช้ภาษาอังกฤษในปัจจุบันของชาวไทย ทำให้ประเทศไทยมีความเหมาะสมที่จะใช้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ดังนั้นการใช้ภาษาอังกฤษใน ฐานะภาษากลางจึงควรถูกนําไปพิจารณาในแง่การสอนและการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในไทยด้วยโดยจําเป็นต้องให้ความสําคัญกับความเข้าใจของบริบทการสื่อความมากกว่าเน้นเพียงความถูกต้องของไวยากรณ์และสําเนียงแบบเจ้าของภาษาอังกฤษ และปรับเปลี่ยนให้เป็นที่ยอมรับร่วมกัน บทความนี้ยังได้เสนอแนะแนวทางที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการสอนและการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในประเทศไทยในโลกสมัยใหม่อีกด้วย
มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ