![]() |
การสร้างแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร |
Title | การสร้างแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร |
Contributor | ณัฐพร แจ่มจำรัส, ถวัลยรัตน์ อินทร์สุนทร, อภิญญา จิตราศรี, อดิศรา ชัยธวัชวิบูลย์, ปวีณา ศรีเมือง, ปริญญา แสนศักดิ์, จิราภร แสนทวีสุข, นิรันดร์ เงินแย้ม, สุรเดช ประยูรศักดิ์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 34-42 |
Keyword | แบบประเมิน, ความวิตกกังวล, การพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่, การพัฒนาแบบประเมิน |
ISSN | 2730-2466 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) สร้างแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่เป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยนเรศวร ในปีการศึกษา 2564 มีขั้นตอนในการวิจัยดังนี้ ขั้นที่ 1 สัมภาษณ์นิสิตเกี่ยวกับเรื่องของความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่จนได้ข้อมูลที่อิ่มตัวจำนวนข้อมูล 120 คน ขั้นที่ 2 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 480 คนโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เพื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจจากข้อคําถามที่สร้างขึ้น พบข้อคำถามที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากกว่า 0.05 จำนวน 32 ข้อ แบ่งออกเป็น 6 องค์ประกอบได้ตั้งชื่อองค์ประกอบดังนี้ 1) สถานการณ์ 2) การทำงาน 3) การปรับตัว 4) อาชีพ 5) ความรับผิดชอบ และ 6) ความสัมพันธ์ขั้นที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.66 – 1.00 โดยได้ข้อคำถามทั้งหมด 32 ข้อ ขั้นที่ 4 เก็บข้อมูลจากตัวอย่างวิจัยจำนวน 300 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลและทำการปรับโมเดลเพื่อให้เกิดความสอดคล้อง ผลการวิจัยพบว่า ข้อคําถามได้ปรับให้เหลือ 21 ข้อ และมี 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) สถานการณ์ 2) การทำงาน 3) การปรับตัว และ 4) อาชีพ ข้อมูลตามทฤษฎีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ Chi-square = 417.51, df = 185, CFI = 0.97, NFI = 0.94, RMSEA = 0.85 ซึ่งผ่านเกณฑ์ การพิจารณาทุกรายการ และเครื่องมือที่สร้างมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สรุปได้ว่า แบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ประเมินในบริบทของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร |