การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตย ในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
รหัสดีโอไอ
Creator พระมหาหน่อทราย รตนเมธี
Title การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตย ในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
Contributor สายัณห์ อินนันใจ
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2568
Journal Title Journal of Interdisciplinary Buddhism
Journal Vol. 3
Journal No. 2
Page no. R1031
Keyword การส่งเสริมการมีส่วนร่วม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, วิถีประชาธิปไตย, ชุมชนบ้านดง
URL Website https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij
Website title https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij
ISSN ISSN 2822-1222 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตย และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตยในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .835 กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ จำนวน 300 คน จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน 1,194 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 รูป/คน เลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนตามวิถีประชาธิปไตยในชุมชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?ar{X} = 3.23, S.D. = 0.54) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม กับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r = .470**) และ 3) ปัญหาอุปสรรค พบว่า (1) ขาดการแจ้งข้อมูลข่าวสารของชุมชนอย่างทันท่วงทีและทั่วถึง (2) ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง (3) ผู้ปกครองท้องที่จัดทำโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในชุมชน ไม่ตรงกับความการของประชาชน (4) ผู้ปกครองท้องที่ไม่มีข้อมูลมอกพอในการประเมินผลโครงการและขาดความรู้ในการประเมินผลโครงการนั้น ๆ ข้อเสนอแนะพบว่า (1) ผู้ปกครองท้องที่ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมวิเคราะห์ กลั่นกรองปัญหาในการประชุมทุกครั้ง (2) ผู้ปกครองท้องที่ควรแจ้งข้อมูลข่าวสารของชุมชนอย่างทันท่วงทีและทั่วถึง (3) ผู้ปกครองท้องที่ควรเชิญชวนและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้าไปมีร่วมในการทำกิจกรรมของชุมชนด้วยกัน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ