ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
รหัสดีโอไอ
Creator 1. ณัฐบูรณ์ พรรัตนเจริญ
2. รสสุคนธ์ พระเนตร
Title ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Publisher Mahidol University
Publication Year 2568
Journal Title Mahidol R2R e-Journal
Journal Vol. 12
Journal No. 1
Page no. 172-186
Keyword การตัดสินใจ, เข้าศึกษาต่อ, วิทยาลัยนานาชาติ, มหาวิทยาลัยมหิดล, MUIC
URL Website https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/
Website title Mahidol R2R e-Journal
ISSN 23925515
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเหตุผลในการเลือกเข้าศึกษาที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการวิจัยแบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จาก 10 โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการทดสอบแบบ t-test สถิติความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และสถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 69.25) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวต่ำกว่า 40,000 บาท (ร้อยละ 49.50) ศึกษาที่โรงเรียนประเภทโรงเรียนรัฐบาล (ร้อยละ 60.50) หลักสูตรของโรงเรียนที่กำลังศึกษาหรือจบการศึกษา คือ หลักสูตรไทย (Thai Program) (ร้อยละ 85.50) 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยรวม อยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.25, SD. = 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความภาคภูมิใจมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x ̅= 4.40) รองลงมา ด้านหลักสูตรและวิชาการ (x ̅= 4.36) ด้านความคาดหวังในอนาคต (x ̅= 4.31) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านเศรษฐกิจและสังคม (x ̅= 4.00) 3. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีเพศ รายได้เฉลี่ยครอบครัวต่อเดือน และ ประเภทของโรงเรียนต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 4. ปัจจัยด้านความคาดหวังในอนาคต ด้านเศรษฐกิจและสังคม และด้านความภาคภูมิใจมีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถทำนายการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) ได้ร้อยละ 88.20
Mahidol R2R e-Journal

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ