แนวทางการพัฒนาศักยภาพตามสมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสดีโอไอ
Creator 1. ภาณุวัฒน์ ทวีกุล
2. จิราพร ขำจันทร์
3. เกษแก้ว เสียงเพราะ
Title แนวทางการพัฒนาศักยภาพตามสมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
Publisher Mahidol University
Publication Year 2568
Journal Title Mahidol R2R e-Journal
Journal Vol. 12
Journal No. 1
Page no. 157-171
Keyword การพัฒนาศักยภาพตามสมรรถนะ, บุคลากรสายสนับสนุน, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยพะเยา
URL Website https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/
Website title Mahidol R2R e-Journal
ISSN 23925515
Abstract การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการพัฒนาศักยภาพตามสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาศักยภาพตามสมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุนคณะสาธารณสุขศาสตร์จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและการสัมภาษณ์กลุ่ม ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.0 อายุเฉลี่ย 34.65 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 80.0 เมื่อวิเคราะห์ระดับสมรรถนะหลักของบุคลากรสายสนับสนุนมากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 65.0 มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.91 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.54 เมื่อวิเคราะห์ความต้องการพัฒนาศักยภาพตามสมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุน พบว่า ด้านการฝึกอบรมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 65.0 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 26.8 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.36 ด้านการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 40.0 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.5 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.16 ด้านการพัฒนาตนเอง อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 45.0 คะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.2 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.43 และด้านสิ่งที่คาดหวัง ความมั่นคงและแนวทางในการพัฒนาอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 50.0 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 26.3 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.25 ดังนั้น แนวทางในการพัฒนาศักยภาพตามสมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ควรดำเนินการดังนี้ 1) การฝึกอบรมและทักษะต่าง ๆ เช่น ภาวะผู้นำการสื่อสารด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) การสนับสนุนทุนการศึกษาและการเพิ่มงบประมาณในการอบรม 3) การสร้างความผูกพันในองค์กรเพื่อเพิ่มสมรรถนะและการมีส่วนร่วมในการทำงาน และ 4) การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน และใช้ระบบพี่เลี้ยงในการสอนงานหรือช่วยตัดสินใจแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ยังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ และกำหนดแนวทางต่าง ๆ ในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อยกระดับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
Mahidol R2R e-Journal

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ