กลยุทธ์การเพิ่มจํานวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID –19” ของธนาคารออมสิน ในจังหวัดศรีสะเกษ
รหัสดีโอไอ
Title กลยุทธ์การเพิ่มจํานวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID –19” ของธนาคารออมสิน ในจังหวัดศรีสะเกษ
Creator ภัทรธิดา บุญรินทร์
Publisher University of the Thai Chamber of Commerce
Publication Year 2564
Keyword ธนาคารออมสิน, สินเชื่อการค้า, ลูกค้าธนาคาร
Abstract การศึกษากลยุทธ์การเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID – 19” ของธนาคารออมสินในจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของการขอใช้บริการและหาแนวทางเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID - 19” ธนาคารออมสิน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการนิติบุคคลในจังหวัด ศรีสะเกษ ที่เข้ามาใช้บริการธนาคารออมสินในพื้นที่บริการ 9 สาขาและกลุ่มลูกค้านิติบุคคลในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวนรวม 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามผ่าน Google Form มีจำนวนแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 352 ชุด และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ พนักงานศูนย์สินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 12 ศรีสะเกษ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีแผนผังก้างปลา ทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทฤษฎีการวิเคราะห์ SWOT และทฤษฎีการวิเคราะห์ TOWS Matrix ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาประกอบการวิจัยในครั้งนี้ด้วย ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41 – 50 ปี ประกอบธุรกิจ ค้าปลีก/ค้าส่ง และมียอดขายระหว่าง 300,000 บาท แต่น้อยกว่า 500,000 บาทต่อเดือน ผู้ตอบแบบสอบถามที่รู้จักผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่รู้จักผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด และส่วนใหญ่ไม่ได้ยื่นขอใช้บริการผลิตภัณฑ์เนื่องจากไม่ทราบเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ ว่าธุรกิจของตนเข้าเงื่อนไขการยื่นขอสินเชื่อหรือไม่ ในส่วนของระดับการมีอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจใช้บริการผลิตภัณฑ์แปลผลตาม Likert's scale ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับความสำคัญได้แก่ 1) ราคา 2) องค์ประกอบทางกายภาพ 3) บุคลากร 4) ช่องทางการจัดจำหน่าย 5) ผลิตภัณฑ์ 6) การส่งเสริมการตลาด และ 7) การบริการ ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์พนักงานเกี่ยวกับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ พบว่า 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการยังไม่รู้จักผลิตภัณฑ์ค่อนข้างเยอะ 2) ด้านราคา ผลิตภัณฑ์คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับลูกค้าได้ 3) ด้านช่องทางการบริการ พบว่า สถานการณ์ COVID –19 เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการลูกค้า 4) ด้านส่งเสริมการตลาด มีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดค่อนข้างน้อย 5) ด้านการบริการ ยังขาดการเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 6) ด้านบุคลากร พนักงานในสาขายังรู้จักรายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์สินเชื่อนโยบาย ฯ ค่อนข้างน้อย 7) ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ ยังขาดเครื่องมือที่ทันสมัยในการให้บริการลูกค้า ความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการให้บริการ พบว่าปัจจุบันมีคู่แข่งขันเข้ามาใหม่มากราย มีการแข่งขันกันสูง การเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีที่มากขึ้น ส่งผลให้คู่แข่งขันพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการให้บริการลูกค้า และข้อเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อนโยบายฯ ในระดับต่าง ๆ ดังนี้ 1) ระดับองค์กร ควรมีการผ่อนปรนเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อ มีกลยุทธ์โฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น พัฒนาเครื่องมือที่ทันสมัยรองรับการให้บริการลูกค้ามากขึ้น 2) ระดับธุรกิจหรือทีมงาน ควรมีการจัดประชุม ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ใหม่ธนาคารและหาแนวทางหาลูกค้าเข้ามาใช้บริการ จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่เข้าใจง่าย มีรายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ครบถ้วน 3) ระดับปฏิบัติการ (พนักงาน) พนักงานควรมีบริการหลังการใช้บริการ กระตือรือร้นที่จะให้บริการและเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการและหากลยุทธ์การเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID – 19” ของธนาคารออมสินในจังหวัดศรีสะเกษ ออกมาเป็น 4 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 กลยุทธ์เชิงรุก - จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ แนวทางที่ 2 กลยุทธ์เชิงแก้ไข - จัดหลักสูตรอบรมออนไลน์ผ่านสื่อการเรียนรู้ E-learning ของธนาคารให้กับพนักงานเมื่อมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ แนวทางที่ 3 กลยุทธ์เชิงรับ - ทำการตลาดเชิงรุกเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ และแนวทางที่ 4 กลยุทธ์เชิงป้องกัน - ทีมงานศูนย์สินเชื่อ ฯ จัดตารางลงพื้นที่ตามสาขาต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กับพนักงานสาขาให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดคือ แนวทางที่ 3 กลยุทธ์เชิงรับ - ทำการตลาดเชิงรุกเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ และแนวทางที่ 4 กลยุทธ์เชิงป้องกัน – ทีมงานศูนย์สินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 12 ศรีสะเกษ จัดตารางลงพื้นที่ตามสาขาต่าง ๆ
URL Website https://scholar.utcc.ac.th
Website title UTCC Scholar
The University of the Thai Chamber of Commerce

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ