![]() |
ผลกระทบต่อความพึงพอใจ และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลกระทบต่อความพึงพอใจ และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
Creator | ศศิวิมล แช่มพราย |
Publisher | University of the Thai Chamber of Commerce |
Publication Year | 2564 |
Keyword | มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย -- นักศึกษา, การสอนด้วยสื่อ, การเรียนการสอนผ่านเว็บ, ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนออนไลน์, การสอนออนไลน์, การเรียนออนไลน์, ผลสัมฤทธิ์ในการเรียน |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจ และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยเก็บข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) ในรูปแบบของการ วิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) ประชากร คือ บัณฑิตวิทยาลัยหอการค้าไทย กลุ่มตัวอย่างคือ บัณฑิตวิทยาลัยหอการค้าไทย ระดับปริญญาโท และปริญญาเอกทั้งหมด 317 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือทางเศรษฐมิติสมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Model) ด้วยวิธีการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระที่มีตัวแปรตาม ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares: OLS) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Independent-samples T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 99 ผลการทดสอบสมมติฐานที่เกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจในการเรียนการสอนออนไลน์ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ เพศ คณะ/สาขาที่ศึกษา การทำงานระหว่างที่กาลังศึกษาอยู่ ตำแหน่งงานและจำนวนสมาชิกในครอบครัว ที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติ 0.01 แต่ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่ไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม คือ อายุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ด้านประสบการณ์การใช้โปรแกรมสาหรับการเรียนออนไลน์ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ด้านระบบสารสนเทศและการสื่อสาร อย่างมีระดับนัยสำคัญทุกตัวแปร ด้านสภาพแวดล้อม อย่างมีระดับนัยสำคัญทุกตัวแปร ด้านประสิทธิภาพการเรียนออนไลน์ โดยที่ความพึงพอใจในภาพรวมสำหรับการเรียนการสอนรูปแบบอออนไลน์ เพียงตัวแปรเดียวเท่านั้นที่ไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนออนไลน์ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ เพศ คณะ/สาขาที่ศึกษา การทำงานระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ ตำแหน่งงานและจำนวนสมาชิกในครอบครัว ที่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.10 แต่ตัวแปรอายุ มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม อย่างไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ด้านประสบการณ์การใช้โปรแกรมสำหรับการเรียนรูปแบบออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยสภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ด้านคุณภาพของระบบ Software ที่ใช้ในห้องเรียนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวแปร ด้านระบบสารสนเทศและการสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวแปร ด้านสภาพแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และด้านประสิทธิภาพการเรียนออนไลน์ ได้ทำการแก้ปัญหาตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นกันมาก ซึ่งได้ทำการแก้ปัญหาโดยการตัวแปรอิสระ 3 ตัวแปร ออกไปเพื่อลดความรุนแรงของตัวแปร |
URL Website | https://scholar.utcc.ac.th |
Website title | UTCC Scholar |