![]() |
การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้แนวคิดการผลิตแบบลีนในกระบวนการขึ้นรูปแม่พิมพ์ขวดพลาสติก กรณีศึกษาบริษัท GP |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้แนวคิดการผลิตแบบลีนในกระบวนการขึ้นรูปแม่พิมพ์ขวดพลาสติก กรณีศึกษาบริษัท GP |
Creator | โศจิรพักร์ บุตรคําโชติพร |
Publisher | University of the Thai Chamber of Commerce |
Publication Year | 2564 |
Keyword | การผลิตแบบลีน, การลดปริมาณของเสีย, การฉีดขึ้นรูปพลาสติก |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียในกระบวนการเป่าขึ้นรูป In Mold Labelling เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและกำหนดมาตรการป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ และลดต้นทุนการผลิตของสินค้าที่เสียหายเพื่อเพิ่มศักยภาพของกระบวนการผลิต วิธีการดำเนินงานเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ Check Sheet และลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อดำเนินการแก้ไขโดยใช้กฎพาเรโต 80:20 และทำการแจกแจงสาเหตุของปัญหาด้วยแผนภาพสาเหตุและผล รวมถึงนำสาเหตุที่ได้ทำการวิเคราะห์สภาพของปัญหาโดยใช้เครื่องมือ FMEA และทำการประเมินโดยใช้ค่าความเสี่ยงชี้นำ RPN มากกว่า 100 คะแนน ทำการเสนอแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขและทำการประเมินอีกครั้งหลังการปรับปรุงเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาซ้ำได้อีก ผลการดำเนินงานพบว่าปัญหาฉลากพองเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน โดยดำเนินการแก้ไขทั้งหมด 3 สาเหตุ คือ 1.) อุณหภูมิในกระบอกสกรูและหัวไหลต่ำไป แก้ไขโดยปรับตั้งค่าอุณหภูมิกระบอกสกรูที่ 190°c, 195°c อุณภูมิหัวไหลปรับตั้งค่าที่ 215°c, 220°c 2.) รูดูดฉลากที่แม่พิมพ์ตันทำให้ระบายอากาศไม่ทัน แก้ไขโดยเพิ่มรูดูดฉลากเป็น 13 รู 3.) แรงลมเป่าไม่พอ แก้ไขโดยปรับตั้งค่าแรงลมเป่าอยู่ที่ 7-8 บาร์ โดยหลังการปรับปรุงพบว่าปริมาณของเสียสามารถลดลงได้ถึง 2,150 ชิ้นต่อเดือน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 91.88% สามารถลดมูลค่าความเสียหายต่อต้นทุนการผลิตได้ถึง 36,550 บาทต่อเดือน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 91.88% และหลังการปรับปรุงมีค่า RPN ลดลงถึง 271 คะแนน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 92.18% |
URL Website | https://scholar.utcc.ac.th |
Website title | UTCC Scholar |