![]() |
แนวทางการแก้ปัญหาการใช้บริการ Mobile Banking ของลูกค้าของธนาคารทีเอ็มบีธนชาต |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | แนวทางการแก้ปัญหาการใช้บริการ Mobile Banking ของลูกค้าของธนาคารทีเอ็มบีธนชาต |
Creator | จิณณ์ณิตา ปรีชาอภิธนวัฒน์ |
Publisher | University of the Thai Chamber of Commerce |
Publication Year | 2564 |
Keyword | ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารและการธนาคาร -- การอัตโนมัติ, ธนาคารและการธนาคาร -- การใช้เครื่องจักรกล, บริการธนาคารทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ |
Abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งของลูกค้าของธนาคารทีเอ็มบีธนชาต ที่พบปัญหาในการใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งในการทำธุรกรรม ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้บริการกับคู่แข่งซึ่งมีอยู่มากมายทำให้จำนวนฐานลูกค้าที่ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้ง ของธนาคารลดลง และส่งผลกระทบต่อการดำเนินการและรายได้ของธนาคารในระยะยาว วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาการให้บริการที่สอดรับกับรูปแบบการดำเนินชีวิตและการพฤติกรรม การทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าในปัจจบุันที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการใช้ดิจิทัลเป็นศูนย์กลาง และกลยุทธ์ด้านดิจิทัลแบงก์กิ้ง เพื่อให้ลูกค้าผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้ง ของธนาคารได้รับความพีงพอใจและความสะดวกสบายในการใช้บริการอย่างสูงสุด จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้ง ด้วยเหตุผลด้านความสะดวกสบาย และความมั่นใจในระบบความปลอดภัย โดยเป็นการใช้บริการเพื่อการทำธุรกรรมบริการบัญชีเงินฝาก และการโอน เติม จ่าย ถอนเงิน ส่วนใหญ่พบปัญหาใช้งานได้แต่ใช้งานยาก และจะเลือกวิธีการจัดการปัญหาที่พบโดยการหาข้อมูลวิธีการแก้ไขในอินเตอร์เน็ต และโซเชียลมีเดียต่าง ๆ โดยกลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงเมนูการใช้งานให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น การปรับปรุงรูปลักษณ์และสีสันให้ทันสมัย และการลดโฆษณาข่าวสาร โปรโมชั่นในแอพพลิเคชั่น จากการศึกษา ได้สร้างแนวทางแก้ไขเป็น 4 ทางเลือก คือ 1.การปรับปรุงการทำงานของระบบ 2.การปรับปรุงสำหรับช่วงที่มีการทำธุรกรรม (traffic) มากกว่าปกติ 3.การพัฒนาเมนูการใช้งานโมบายแบงก์กิ้งให้เป็นมิตร (User-friendly) กับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น และ 4.การพัฒนาการสื่อสารด้านการใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง และได้พิจารณาเลือกแนวทางที่ดีที่สุด คือ แนวทางเลือกที่ 1 การปรับปรุงการทำงานของระบบ โดยปฏิบัติตามแผนการเผ้าดูระบบและนำผลจากการเฝ้าดูระบบมาปรับปรุง รวมถึงเพิ่มรายการตรวจสอบระบบ ทบทวนและปรับปรุงแผนและรายการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง แนวทางเลือกที่ 3 การพัฒนาเมนูการใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง ให้เป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยทำการประเมินผลความพึงพอใจกับกลุ่มตัวอย่างก่อนนำออกใช้งานจริง และแนวทางเลือกที่ 4 การ พัฒนาการสื่อสารด้านการใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง โดยทบทวนเนื้อหา วิธีการและช่องทางในการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์ เน้นให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย มีการสำรวจประสิทธิภาพของการสื่อสารและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ตลอดจนนำข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการมาพิจารณาเพื่อพัฒนาการให้บริการโมบายแบงก์กิ้งของธนาคารให้ดียิ่งขึ้น |
URL Website | https://scholar.utcc.ac.th |
Website title | UTCC Scholar |