![]() |
การแก้ไขปัญหาอัตราการกู้สินเชื่อระบบอิสลามลดลง กรณีศึกษาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขายะหา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การแก้ไขปัญหาอัตราการกู้สินเชื่อระบบอิสลามลดลง กรณีศึกษาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขายะหา |
Creator | วรชัย เพชรแสงฉาย |
Publisher | University of the Thai Chamber of Commerce |
Publication Year | 2564 |
Keyword | ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, สินเชื่อ, การกู้ยืมธนาคาร |
Abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาสาเหตุที่ยอดคงเหลือสินเชื่อระบบอิสลาม ธ.ก.ส. สาขายะหา ลดลง โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยในรูปแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และดำเนินการวิจัย ด้วยวิธีแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส. สาขายะหา โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 ธ.ก.ส. สาขายะหา มีลูกค้าเงินกู้จำนวน 7,873 คน ผู้วิจัยจึงได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสมการของ Taro Yamane (1967) โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายข้อมูลเบื้องต้นและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบค่าทีเทส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้เคยใช้บริการสินเชื่อระบบแอสลาม จำนวน 6 คน และผู้บริหาร พนักงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจ่ายสินเชื่ออิสลาม จำนวน 4 คน โดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์เนื้อหาข้อมูล จากนั้นใช้แผนผังก้างปลาหาสาเหตุของปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์องค์กรทั้งปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และใช้ทาวส์เมตริก ทำการการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกข้อมูล การวางเค้าโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหา ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 92.75 ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ 66.00 มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ร้อยละ 43.25 สถานภาพสมรส ร้อยละ 91.25 ส่วน ใหญ่ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 73.50 ส่วนใหญ่ มีอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 80.25 ส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001–15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 71.75 2) พฤติกรรมผู้ใช้บริการ กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้บริการสินเชื่อระบบอิสลามร้อยละ 75.25 และไม่ทราบว่า ธ.ก.ส. มีสินเชื่อระบบอิสลามให้บริการ ร้อยละ 74.50 มีความถี่ที่ใช้ในการบริการด้านสินเชื่อกับธนาคาร ปีละ 1 ครั้ง 83.75 3) สาเหตุและปัญหาเกิดจากปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านความต้องการผู้บริโภค ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ยังไม่ครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภค ด้านพฤติกรรม ลูกค้ายังขาดการรับรู้ในตัวผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านพนักงานยังขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีปฏิบัติอย่างถ่องแท้ 4) พัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้หลักเกณฑ์ของระบบการเงินอิสลาม เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค พร้อมการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์และบริการ |
URL Website | https://scholar.utcc.ac.th |
Website title | UTCC Scholar |