ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH ของสารสกัดหยาบของต้นต้อยติ่ง และความคงตัวของสารสกัดส่วนย่อยในผลิตภัณฑ์ครีม : รายงานการวิจัย
รหัสดีโอไอ
Title ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH ของสารสกัดหยาบของต้นต้อยติ่ง และความคงตัวของสารสกัดส่วนย่อยในผลิตภัณฑ์ครีม : รายงานการวิจัย
Creator วันทนา มงคลวิสุทธิ์
Contributor วิภา ทัพเชียงใหม่, มณีนุช ควรเชิดชู
Publisher มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
Publication Year 2557
Keyword สารสกัดจากพืช, ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ, ต้อยติ่ง (พืช), เครื่องสำอาง, ครีมถนอมผิว
Abstract การศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ DPPH ของสารสกัดหยาบจากส่วนใบ ต้น และราก ของต้นต้อยติ่ง ด้วยตัวทำละลาย 2 ชนิดคือ เอทานอล และอะซิโดน ได้สารสกัดหยาบ 6 ชนิดโดยตัวทำละลายเอทานอล สกัดสารได้ดีกว่าตัวทำละลายอะซิโตน และเมื่อนำไปทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารสกัดอะซิโตนจากส่วนต้น มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดเท่ากับร้อยละ 88.2487 จากนั้นเลือกสารสกัดหยาบที่มีฤทธิ์ที่ดีที่สุด คือสารสกัดหยาบชั้นอะซิโตนจากส่วนต้นนี้มาทำการยแกเป็นส่วนย่อยด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีแบบคอลัมน์ ด้วยระบบเกรเดียนท์ โดยชนิดของตัวทำละลายที่ใช้ เฮกเซน ต่อ เอทิลอะซิเดต แยกได้สารสกัดส่วนย่อย 11 ส่วนนำสารทั้งหมดไปทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ผลการทดสอบได้สารสกัดส่วนย่อยที่ 7 มีน้ำหนักมากสุดและมีร้อยละของฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 85.3072 เมื่อนำสารสกัดส่วนย่อยนี้มาศึกษาความคงตัวในผลิตภัณฑ์ครีมทาผิว ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วยครีมทาผิวพื้นฐาน(สารควบคุม) และครีมทาผิวผสมสารสกัดส่วนย่อยที่ 7 ที่ความเข้มข้นร้อยละ 1 และ 2 โดยน้ำหนักพบว่าสารสกัดส่วนย่อยนี้มีความคงตัวอยู่ได้ในครีมทาผิว จากผลของการออกฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและจากผลการติดตามการออกฤทธิ์ของสารสกัดส่วนย่อยนี้ แสดงให้เห็นว่าสามารถนำสารสกัดที่แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากต้นต้อยติ่งไปประยุกต์ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ครีมทาผิว
Language TH
URL Website https://dspace.rmutk.ac.th
Website title คลังความรู้ UTK
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.กรุงเทพ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ