การสังเคราะห์ไบโอดีเซลประเภทเอทิลเอสเทอร์จากน้ำมันเมล็ดยางพาราและน้ำมันสบู่ดำโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธ์จากเปลือกหอยแครง : รายงานการวิจัย
รหัสดีโอไอ
Title การสังเคราะห์ไบโอดีเซลประเภทเอทิลเอสเทอร์จากน้ำมันเมล็ดยางพาราและน้ำมันสบู่ดำโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธ์จากเปลือกหอยแครง : รายงานการวิจัย
Creator ศศิวิมล วุฒิกนกาญจน์
Contributor ชัชวาลย์ สุขมั่น, ธนาพร ชื่นอิ่ม
Publisher มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
Publication Year 2557
Keyword เชื้อเพลิงไบโอดีเซล, สบู่ดำ, ยางพารา
Abstract งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการนำน้ำมันที่ไม่สามารถบริโภคได้ 2 ชนิดที่มีปริมาณกรดไขมันอิสระสูงคือ น้ำมันสบู่ดำ และน้ำมันเมล็ดยางพารามาใช้เป็นวัตถุดิบในการเตรียมไบโอดีเซลประเภทเอทิลเอสเทอร์ โดยก่อนทำปฏิกิริยาแทรนส์เอสเทอริฟิเคชัน ได้ทำการลดปริมาณกรดไขมันอิสระผ่านปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน การเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาในขั้นการสังเคราะห์เอทิลเอสเทอร์เริ่มจากนำเปลือกหอยแครงเหลือทิ้งมาเผาที่อุณหภูมิสูง 1000 °C และเคลือบแบบฝังแบบเปียกด้วยสารละลาย LiNO3 ที่มีความเข้มข้นของ Li ร้อยละ 1.75 โดยน้ำหนัก ศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการทำปฏิกิริยาแทรนส์เอสเทอริฟิเคชันได้แก่อัตราส่วนโดยโมลระหว่างเอทานอลต่อน้ำมัน (9:1-18:1) ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา (ร้อยละ 2-4 โดยน้ำหนักของน้ำมัน) อุณหภูมิ 55-75 °C) เวลา (1-5 ชั่วโมง) พบว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมขึ้นสามารถใช้ในการสังเคราะห์ไบโอดีเซลประเภทเอทิลเอสเทอร์ได้และภาวะที่เหมาะสมจากการศึกษาของน้ำมันทั้ง 2 ชนิดคือ ที่อัตราส่วนโดยโมลระหว่างเอทานอลต่อน้ำมันเท่ากับ 9:1 ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 4 โดยน้ำหนักของมัน อุณหภูมิ 75°C เวลา 5 ชั่วโมง เกิดเอทิลเอสเทอร์จากน้ำมันสบู่ดำร้อยละ 90.1 โดยน้ำหนักและเกิดเอทิลเอสเทอร์จากน้ำมันเมล็ดยางพาราร้อยละ 85.6 โดยน้ำหนัก ผลการทดลองสามารถที่จะเพิ่มมูลค่าน้ำมันทั้ง 2 ชนิดให้สูงขึ้น
Language TH
URL Website https://dspace.rmutk.ac.th
Website title คลังความรู้ UTK
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.กรุงเทพ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ