![]() |
เว็บโมเดลเพื่อการอนุรักษ์สืบสานและถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมการทอผ้า กรณีศึกษา บ้านทัพคล้าย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี : รายงานการวิจัย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | เว็บโมเดลเพื่อการอนุรักษ์สืบสานและถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมการทอผ้า กรณีศึกษา บ้านทัพคล้าย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี : รายงานการวิจัย |
Creator | จินตนา พลศรี |
Contributor | จิตตรี ยกย่องสกุล |
Publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ |
Publication Year | 2557 |
Keyword | การทอผ้า, เว็บไซต์, ชุมชนทัพคล้าย, จังหวัดอุทัยธานี |
Abstract | โครงการวิจัยเรื่อง เว็บโมเดลเพื่อการอนุรักษ์สืบสานและถ่ายทอดศิลปวัฒนธธรรมการทอผ้า กรณีศึกษา บ้านทัพคล้าย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ด้านคือ 1) ศึกษา ประวัติความเป็นมา อัดลักษณ์ องค์ความรู้ ด้านการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนทัพคล้าย 2) ศึกษารูปแบบ ลายผ้าพื้นเมืองชุมชนบ้านทัพคล้าย และจัดทำฐานข้อมูลลายผ้า และ 3) อออกแบบเว็บโมเดลสำหรับ จัดการความรู้ด้านการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนบ้านทัพคล้าย เพื่อการอนุรักษ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้การ ทอผ้าพื้นเมืองใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบผสานวิธีคือ การสัมภาษณ์และแบบสอบถาม เพื่อสัมภาษณ์และ สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นความรู้ที่จำเป็นด้านการอนุรักษ์และสืบสานการทอผ้าพื้นเมือง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าทอพื้นเมืองไทครั่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าทอทั่วไป และปราชญ์ชาวบ้านด้านศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นผลการศึกษาประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ การทอผ้าพื้นเมือง ของชุมชนทัพคล้ายพบว่า เป็นชุมชนคนไทยเชื้อสายลาว ก่อตั้งชุมชนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 บรรพบุรุษถูกกวาดต้อนมาจาก ส.ป.ป.ลาว และผลการสำรวจความคิดเห็นต่อการจัดการความรู้เรื่องผ้าทอพื้นเมือง พบว่า ระบบอินเตอร์เน็ตสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสืบสานและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการทอผ้า พื้นเมืองที่เป็นระบบมากขึ้น จำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลลายผ้าทอพื้นเมืองในระบบคอมพิวเตอร์ และ นำเสนอความรู้เรื่องผ้าทอพื้นเมืองบนระบบอินเตอร์เน็ต ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการนำเสนอได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านและความเชี่ยวชาญ ตัวอย่างลวดลายและสีที่ใช้บนผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์ประจำ ท้องถิ่น ระบบสืบค้นข้อมูลลายบนผ้าทอพื้นเมือง วิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่น ความรู้เกี่ยวกับการทอผ้า พื้นเมือง และการเชื่อมโขงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อความล้มเหลวในการนำเสนอความรู้การทอผ้าพื้นเมือง ได้แก่ ขาดผู้ดูแลเว็บ และหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ขาดองค์ความรู้ที่สมบูรณ์สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในทางวิชากาการ และความรู้นำไปใช้ได้น้อย ผลการวิเคราะห์ลายผ้าทอทัพคล้ายในอดีตและปัจจุบัน แบ่งกลุ่มลายผ้าเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) คนหรือสัตว์ 2)พืชหรือต้นไม้ 3) รูปทรงเรขาคณิต และรูปร่างอื่น ๆ เทคนิคสำหรับสร้างลายบนผืน ผ้าและผ้าซิ่น ได้แก่ จก มัดหมี่ สีสำหรับสร้างลวดลายหลักในผ้าชิ้นคือ 5-7 สี และเอกลักษณ์ของ ผ้าทอทัพคล้ายคือผ้าซิ่นตีนจกที่ชายตีนผ้าซิ่นจะจกลายกว๊านเอาไว้ การพัฒนาเว็บโมเดลใช้เฟรมเวิร์คของโปรแกรมเวิร์ดเพรส (Word Press) เพื่อจัดการส่วน แสดงเนื้อหา และเพิ่มเติมชุดคำสั่ง (Plug in) จัดการแสดงภาพลวดลายบนผืนผ้า จัดการฐานข้อมูลลาย ผ้าด้วย MySql |
Language | TH |
URL Website | https://dspace.rmutk.ac.th |
Website title | คลังความรู้ UTK |