การพัฒนาจริยธรรมในการทำงานของนักศึกษาระดับปริญญาบัตรในการเอื้อต่อความต้องการของสถานประกอบการ : รายงานการวิจัย
รหัสดีโอไอ
Title การพัฒนาจริยธรรมในการทำงานของนักศึกษาระดับปริญญาบัตรในการเอื้อต่อความต้องการของสถานประกอบการ : รายงานการวิจัย
Creator 1. ดิเรก กาญจนรูจี
2. สมบูรณ์ สุวรรณาภิชาติ
3. วิภาพร มาพบสุข
Publisher มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
Publication Year 2556
Keyword จริยธรรม -- การศึกษาและการสอน, ความฉลาดทางอารมณ์, การพัฒนาจริยธรรม
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อการศึกษาลักษณะจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาบัตร สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกอบรมและการจัดกิจกรรมมีผลต่อจริยธรรมในการทำงานของนักศึกษาก่อนและหลังการทดลอง และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนความต้องการและคะแนนความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อลักษณะจริยธรรมในการทำงานของนักศึกษา ประชากรเป็นนักศึกษาระดับปริญญาบัตรปีที่ 4 สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน 30 คน และสถานประกอบการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จำนวน 30 ราย กลุ่มตัวอย่างที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 15 คน สถานประกอบการจำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1)แบบสอบถามคุณลักษณะจริยธรรมในการทำงานของนักศึกษาที่สถานประกอบการต้องการ 2) แบบสอบถามเพื่อให้นักศึกษาประเมินตนเองเกี่ยวกับจริยธรรมในการทำงาน 3) แบบสอบถามจริยธรรมในการทำงานเพื่อให้สถานประกอบการประเมินนักศึกษาและ 4) โครงการพัฒนาจริยธรรมในการทำงานของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ย ทดลองที่ (t-test) แบบสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกันและแบบสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกันผลการวิจัยพบว่า : 1. ค่าเฉลี่ยจริยธรรมในการทำงานโดยรวมที่นักศึกษากลุ่มทดลองประเมินตนเองหลังการทดลองสูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( X= 4.42 และ = 3.29, t = 7.62 p = .00) 2. ค่าเฉลี่ยจริยธรรมในการทำงานโดยรวมที่นักศึกษากลุ่มทดลองประเมินตนเอง ก่อนการทดลอง ต่ำกว่า ค่าเฉลี่ย จริยธรรมในการทำงานที่สถานประกอบการต้องการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X = 3.29และ =4.15 , t = 6.30 p = .00) 3. ค่าเฉลี่ยจริยธรรมในการทำงาน โดยรวมที่นักศึกษากลุ่มทดลองประเมินตนเองหลังการทดลอง และค่าเฉลี่ยจริยธรรมในการทำงานโดยรวมที่นักศึกษากลุ่มควบคุมประเมินตนเอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( X=4.42 และ =3.74 , t =5.67 , p =.00) 4. ค่าเฉลี่ยจริยธรรมในการทำงานโดยรวมที่สถานประกอบการประเมินนักศึกษากลุ่มทดลอง มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X = 4.63 และ = 3.64 , t = 8.66 p = .00)
Language TH
URL Website https://dspace.rmutk.ac.th
Website title คลังความรู้ UTK
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.กรุงเทพ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ