ผลการใช้การบันทึกเชิงสะท้อนคิดที่มีต่อพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนในชั้นเรียนวิจัยการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบผสมวิธี
รหัสดีโอไอ
Title ผลการใช้การบันทึกเชิงสะท้อนคิดที่มีต่อพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนในชั้นเรียนวิจัยการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบผสมวิธี
Creator กฤษณา ขำปากพลี
Contributor สุวิมล ว่องวาณิช
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2557
Keyword การรับรู้ตนเอง, การพัฒนาตนเอง, พฤติกรรมมนุษย์, การศึกษา -- วิจัย, จิตวิทยาการศึกษา, Self-perception, Self-culture, Human behavior, Education -- Research, Educational psychology
Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาวิธีการเก็บข้อมูลผู้เรียนด้วยการบันทึกเชิงสะท้อนคิดในวิชาวิจัยการศึกษาสำหรับให้ผู้สอนและผู้เรียนใช้ในการพัฒนาตนเอง 2) เพื่อวิเคราะห์ผลการใช้วิธีการบันทึกเชิงสะท้อนคิดที่มีต่อพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนในชั้นเรียนวิจัยการศึกษา วิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบผสมวิธี (mixed methods experimental research) ตัวอย่างวิจัย ได้แก่ นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 รายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน จำนวน 96 คน การศึกษาครั้งนี้มีกลุ่มการทดลอง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มใช้บันทึกเชิงสะท้อนคิดตลอดการทดลอง (กลุ่ม R) กลุ่มใช้บันทึกเชิงสะท้อนคิดระยะหลัง (กลุ่ม N+R) และกลุ่มที่ไม่ใช้บันทึกเชิงสะท้อนคิด (กลุ่ม N) แบบการวิจัยเป็นการศึกษาสามกลุ่มวัด 5 ครั้งแบบอนุกรมเวลา เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับการเรียนของนิสิตครูมีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.83 – 0.87 แบบสังเกตการเรียนการสอนในชั้นเรียน และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบวัดซ้ำ (analysis of covariance : ANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการเก็บข้อมูลผู้เรียนโดยใช้บันทึกเชิงสะท้อนคิดที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียม กำหนดข้อมูลต้องการให้ผู้เรียนบันทึก และออกแบบแบบบันทึกข้อมูลความยาว 1 หน้ากระดาษ ขั้นเก็บข้อมูล ชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้เรียนให้เห็นประโยชน์ของการบันทึก วิธีการบันทึก และช่วงเวลาในการส่งแบบบันทึก โดยสามารถบันทึกได้ในท้ายชั่วโมงหลังสิ้นสุดการเรียนการสอนหรือส่งในวันเวลาที่กำหนด ขั้นการใช้ประโยชน์จากข้อมูล ผู้สอนอ่านผลการบันทึกของผู้เรียนที่สะท้อนข้อมูลเกี่ยวกับความตระหนักรู้ในตนเอง การพัฒนาตนเอง และทักษะการเรียนวิจัย ให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือเป็นรายกลุ่ม และนำข้อมูลของผู้เรียนมาปรับปรุงการสอนของผู้สอน 2) ผลการวิจัยพบว่าความตระหนักรู้ในตนเอง การพัฒนาตนเอง และทักษะการเรียนวิชาวิจัยการศึกษาของผู้เรียนกลุ่ม R และกลุ่ม N+R มีค่าใกล้เคียงกัน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตลอดช่วงการทดลอง ส่วนกลุ่ม N มีการเปลี่ยนแปลงไม่สม่ำเสมอในแต่ละช่วงเวลา โดยภาพรวมจากผลการวัดครั้งที่ 4-5 พบว่า กลุ่ม R และกลุ่ม N+R มีทักษะการเรียนวิชาวิจัยการศึกษาสูงกว่ากลุ่ม N อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมผู้สอนมีค่าเฉลี่ยในกลุ่ม R และกลุ่ม N+R สูงกว่ากลุ่ม N อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ