![]() |
โทมัส สแคนลอนกับทางออกแบบพันธสัญญาของปัญหาพหุนิยมทางคุณค่า |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | โทมัส สแคนลอนกับทางออกแบบพันธสัญญาของปัญหาพหุนิยมทางคุณค่า |
Creator | ปิยฤดี ไชยพร |
Contributor | เนื่องน้อย บุณยเนตร, เกษม เพ็ญภินันท์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2556 |
Keyword | สแคนลอน, โทมัส, พหุนิยม, ค่านิยม, คุณค่า, Scanlon, Thomas, Pluralism, Values, ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทย์ปัญหาเรื่องความชอบธรรมที่จอห์น รอลส์ (John Rawls) ตั้งไว้ชี้ให้เห็นถึงนัยยะที่เป็นปัญหาอย่างลึกซึ้งของปรากฏการณ์ของพหุนิยมทางคุณค่า (value pluralism) ต่อสังคมเสรีประชาธิปไตย โจทย์นี้มีหัวใจอยู่ที่ว่า ในสังคมชนิดนี้ที่สมาชิก ทุกคน ต่างมีสถานะเป็นบุคคลที่เสรีและเสมอภาคกัน ทว่ายึดถือใน ลัทธิความเชื่อที่ครอบคลุม ที่แตกต่างกันนั้น คนเหล่านี้จะสามารถได้ หลักการและอุดมคติ ที่พวกเขาสามารถตกลงยอมรับร่วมกันได้มาจากที่ใด สำหรับมาใช้เป็นพื้นฐานรองรับให้แก่สถาบันระดับฐานรากของสังคม เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันหลักของสังคม และเพื่อตอบปัญหาเรื่องความยุติธรรมที่ตามมาจากการทำงานของสถาบันเหล่านั้นที่ส่งผลให้คนในสังคมได้รับจัดสรรสิทธิ ประโยชน์และหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไม่เท่าเทียมกัน? วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ชี้ว่าโจทย์ปัญหานี้เป็นคำถามที่ตรงประเด็นและมีความสำคัญเร่งด่วนสำหรับสังคมเสรีประชาธิปไตย ทว่าแนวทางทั้งหมดเท่าที่มีอยู่สำหรับใช้ตอบโจทย์นี้ ทั้งที่เสนอโดยนักทฤษฎีพหุนิยมทางคุณค่าและนักทฤษฎีเสรีนิยมซึ่งรวมถึงตัวรอลส์เองด้วยนั้น ล้วนแต่ยังคงมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้อย่างน่าพอใจ จากนั้นวิทยานิพนธ์จึงนำเสนอเนื้อหาของทฤษฎีจริยศาสตร์แบบพันธสัญญาเรื่อง “หน้าที่ที่บุคคลพึงมีต่อกันและกัน” (what we owe to each other) ของโทมัส สแคนลอน (Thomas Scanlon) ที่มีหัวใจอยู่ที่แนวคิดเรื่อง การสามารถให้เหตุผลสนับสนุนแก่ผู้อื่นบนพื้นฐานที่ไม่มีผู้ใดสามารถปฏิเสธได้ (justifiability to others on grounds that no one can reasonably reject) และวิเคราะห์ให้เห็นว่ามีองค์ประกอบหลัก ๓ เรื่องจากทฤษฎีจริยศาสตร์เรื่องนี้ที่สามารถนำไปใช้สร้างเป็นทางออกรูปแบบใหม่สำหรับตอบโจทย์ปัญหาของรอลส์ได้อย่างน่าพอใจยิ่งกว่าแนวทางที่ได้วิเคราะห์มาแล้วทั้งหมด ทางออกรูปแบบใหม่นี้ประกอบด้วยหลักการและอุดมคติพื้นฐานที่สามารถสร้างความเป็นเอกภาพให้แก่สังคม กระบวนการตัดสินใจสาธารณะ และหลักการอภิปรายสาธารณะแบบพันธสัญญาที่ชี้ให้เห็นได้ว่าพลเมืองในสังคมเสรีประชาธิปไตยที่เป็นพหุนิยมทางคุณค่าทุกคนมีเหตุผลที่ดีที่จะยอมรับ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |