การย้ายชุมชนที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศจากแหล่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
รหัสดีโอไอ
Title การย้ายชุมชนที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศจากแหล่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
Creator ธีร์ ตันจริยานนท์
Contributor นพนันท์ ตาปนานนท์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด -- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม, มลพิษทางอากาศ -- ไทย -- ระยอง, การย้ายที่อยู่อาศัย -- ไทย -- ระยอง, Maptaphut Industrail Estate -- Effect of environment on, Air -- Pollution -- Thailand -- Rayong, Relocation (Housing) -- Thailand -- Rayong
Abstract จังหวัดระยองเดิมเป็นพื้นที่ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลสามารถทำการประมงชายฝั่งได้ เมื่อมีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมตามโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกหรือ Eastern Seaboard Development จึงเกิดผลกระทบด้านมลภาวะต่อสุขภาพผู้อยู่อาศัยดั้งเดิม ซึ่งประเด็นปัญหาในปัจจุบันคือมีการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและก๊าซธรรมชาติที่มีการขยายตัวส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ชุมชนละแวกใกล้เคียงกับนิคมอุตสาหกรรมตกอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน เกิดการร้องเรียนกับทางภาครัฐ มีการต่อต้านแหล่งอุตสาหกรรม การพยายามแก้ปัญหาในพื้นที่ก่อให้เกิด “โครงการพัฒนาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด” โดยมีความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยแนวคิด “การรื้อย้ายชุมชน” เป็นแนวคิดที่ควรมีการศึกษาอย่างจริงจังเพื่อช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยในชุมชนที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดให้สามารถรื้อย้ายชุมชนออกจากพื้นที่ดังกล่าวโดยการวิจัยมีแนวทางศึกษาเหตุผลความจำเป็น เงื่อนไขและข้อจำกัดในการรื้อย้ายชุมชน จากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขและความเป็นไปได้ โดยได้รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิที่สามารถชี้วัดผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่จริงเพื่อยืนยันความจำเป็นในการรื้อย้ายชุมชน แล้วจึงสำรวจเก็บข้อมูลชุมชนที่สมควรรื้อย้าย เพื่อทราบถึงความต้องการและเงื่อนไขความจำเป็นของผู้อยู่อาศัยในชุมชน เพื่อรวบรวมนำมาวิเคราะห์และแบ่งกลุ่มในแต่ละชุมชนว่ามีความต้องการเฉพาะอย่างไร โดยรูปแบบการดำเนินการรื้อย้ายชุมชนสามารถจัดได้เป็น3 กลุ่มคือกลุ่มอิงภาคอุตสาหกรรม กลุ่มประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรือการประมง และกลุ่มพื้นที่อิสระ โดยจะมีเงื่อนไขทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม รวมถึงข้อจำกัดเฉพาะตามบริบทของชุมชน ซึ่งการประมวลผลทั้งหมดนี้เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการดำเนินการสำหรับหน่วยงานที่เข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการรื้อย้ายชุมชน และเพื่ออธิบายความเป็นไปได้ในกระบวนการดำเนินการรื้อย้ายที่สอดคล้องกับโครงการที่มีอยู่จริง
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ