การคำนวณย้อนกลับจากเส้นโค้งการกระจายของคลื่นเรลีย์เพื่อการสำรวจชั้นดินทางวิศวกรรม
รหัสดีโอไอ
Title การคำนวณย้อนกลับจากเส้นโค้งการกระจายของคลื่นเรลีย์เพื่อการสำรวจชั้นดินทางวิศวกรรม
Creator นฤวัต กลอยเทพ
Contributor ฐิรวัตร บุญญะฐี
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword คลื่นเรลีย์, คลื่นเฉือน, ชั้นดิน, การสำรวจทางธรณีวิทยา, การผกผัน (ธรณีฟิสิกส์), แผ่นดินไหว, Rayleigh waves, Shear waves, Soil horizons, Geological surveys, Inversion (Geophysics), Earthquakes
Abstract คลื่นผิวที่เดินทางผ่านชั้นดินจะมีความเร็วในการเคลื่อนที่แตกต่างกันตามของความถี่ของคลื่น เส้นโค้งที่แสดงการเปลี่ยนแปลงความเร็วของคลื่นผิวตามความถี่มีชื่อเรียกว่าเส้นโค้งการกระจาย (Dispersion curve) ซึ่งสามารถใช้ในการคำนวณย้อนกลับเพื่อหาภาพตัดความเร็วคลื่นเฉือน (Shear wave velocity profile) ของชั้นดินได้ การคำนวณย้อนกลับเพื่อหาภาคตัดความเร็วคลื่นเฉือนจากเส้นโค้งการกระจายมีวิธีการต่างๆ หลายวิธีเช่น การประเมินจากความยาวคลื่นผ่านการแปลง f-k การประเมินจากลักษณะการส่งผ่านคลื่น (Propagator matrix) หรือการประเมินจากวิธีไฟไนต์ดิฟเฟอเรนท์ (Finite difference) วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการพัฒนาวิธีการคำนวณย้อนกลับตามแนวทางของ Propagator matrix โดยใช้เส้นโค้งการกระจายของคลื่นในโหมดการสั่นที่สูงกว่าการสั่นในโหมดมาตรฐานด้วย ซึ่งได้มีผู้รายงานไว้ว่าจะทำให้ขบวนการคำนวณย้อนกลับมีความเสถียรมากกว่าและให้ผลการประเมินที่แม่นยำกว่าการใช้ข้อมูลจากการสั่นในโหมดมาตรฐานเพียงอย่างเดียว จากการวิจัยครั้งนี้ซึ่งกระทำกับชั้นดินจำลอง 5 ชนิดและข้อมูลจากการตรวจวัดจริงในสนามจำนวน 2 แห่งพบว่าการพิจารณาการสั่นสะเทือนที่ความถี่หลายโหมด(Multi-mode) ให้ภาพตัดความเร็วคลื่นเฉือนที่ใกล้เคียงกับของจริงมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นชั้นดินที่มีความเร็วคลื่นเฉือนเพิ่มขึ้นตามความลึก (Normally dispersive profiles) หรือชั้นดินที่ความเร็วคลื่นเฉือนไม่ได้เพิ่มขึ้นตามความลึก (Irregular profiles)
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ