ผลกระทบของอุทกภัยต่อพื้นที่ปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองแพร่
รหัสดีโอไอ
Title ผลกระทบของอุทกภัยต่อพื้นที่ปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองแพร่
Creator ธิดารัตน์ คำคง
Contributor ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword อุทกภัย -- ไทย -- แพร่, การตั้งถิ่นฐาน -- ไทย -- แพร่, Floods -- Thailand -- Phrae, Land settlement -- Thailand -- Phrae
Abstract เมืองแพร่มีความสำคัญในการเป็นเมืองโบราณอายุกว่า 1,200 ปี ที่ยังคงรักษาองค์ประกอบของเมืองโบราณไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การค้าและการบริการ ระดับจังหวัด ทำให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการขยายตัวของเมืองไปยังพื้นที่เกษตรซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำ เมื่อเกิดปัญหาอุทกภัยส่งผลให้ได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น วัตถุประสงค์ในการศึกษามีดังนี้ 1)ศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์ โครงสร้างและองค์ประกอบทางกายภาพของเมืองแพร่ 2)ศึกษาสถานการณ์ ลักษณะของการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ศึกษา และสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตเมืองแพร่ 3)วิเคราะห์ระดับความรุนแรงของผลกระทบจากอุทกภัยที่มีผลต่อพื้นที่ปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองแพร่ วิธีการศึกษาประกอบด้วยการวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝนน้ำท่า การใช้แบบจำลอง Nays2D Flood ในการศึกษาสถานการณ์การเกิดอุทกภัย เพื่อให้ทราบถึงขอบเขต ระดับความลึก รวมถึงระยะเวลาของการท่วมขัง ผลของการศึกษาพบว่าการเกิดอุทกภัยมีสาเหตุมาจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกเขตเมือง ได้แก่ การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้บริเวณต้นน้ำทำให้น้ำจากพื้นที่ต้นน้ำไหลลงมารวมกับปริมาณน้ำในพื้นที่เขตเมืองจนเกิดการเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เมืองการขยายตัวของเมืองเข้าไปรุกล้ำพื้นที่รับน้ำและคูคลอง รวมถึงการสร้างถนนขวางกั้นทางระบายน้ำ จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมืองแพร่เมื่อ พ.ศ. 2538 พบว่าที่ระดับน้ำท่วมน้อย(0.01-0.50 ม.) มี 3 ชุมชน ที่ระดับน้ำท่วมปานกลาง(0.51-1.50 ม.) มี 6 ชุมชน และที่ระดับน้ำท่วมมาก(1.50 ม.ขึ้นไป) มี 9 ชุมชน ทั้งนี้ระดับความลึกจะเพิ่มขึ้นตามลักษณะภูมิประเทศที่ลาดเทจากทิศตะวันออกลงสู่แม่น้ำยมทางทิศตะวันตกของเมือง พื้นที่ที่เกิดความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างมาก คือ พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำยมบริเวณวัดศรีชุม ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย พื้นที่ที่เกิดความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างจากการท่วมขังเป็นเวลานาน คือ พื้นที่ภายในกำแพงเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันราชการ สถาบันการศึกษา และศาสนสถานที่สำคัญ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการอัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำอย่างรวดเร็วซึ่งมีผลต่อการขนย้ายทรัพย์สินและการอพยพ คือ พื้นที่โดยรอบแนวกำแพงเมืองทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากและพื้นที่เศรษฐกิจหลักของเมือง การศึกษายังพบอีกว่า ลักษณะสิ่งปลูกสร้างที่มีการยกใต้ถุนสูงหรือมีมากกว่าหนึ่งชั้นจะได้รับผลกระทบที่น้อยกว่าสิ่งปลูกสร้างชั้นเดียว และสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างด้วยไม้จะได้รับความเสียหายน้อยที่สุด ดังนั้น การลดผลกระทบควรกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งถิ่นฐาน หรือมีมาตรการในการสร้างอาคารให้มีการยกใต้ถุนสูง การสร้างถนนต้องไม่ขวางการไหลของน้ำ และควรอนุรักษ์ระบบระบายน้ำธรรมชาติ เป็นต้น
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ