การศึกษาเทคโนโลยีบำบัดน้ำกากส่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในอุตสาหกรรมผลิตสุรา
รหัสดีโอไอ
Title การศึกษาเทคโนโลยีบำบัดน้ำกากส่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในอุตสาหกรรมผลิตสุรา
Creator วรรณวิจิตร พนมเชิง
Contributor สมชาย พัวจินดาเนตร
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword ยีสต์, ของเสียจากโรงงานสุรา, น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน, อุตสาหกรรมสุรา, Yeast, Brewery waste, Sewage -- Purification -- Anaerobic treatment, Liquor industry
Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยีบำบัดน้ำกากส่าที่เหลือทิ้งจากโรงงานผลิตสุราผสม ระหว่าง (1) ระบบหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน (2) ระบบระเหยแบบ Thermal Vapor Recompression (TVR) และ (3) ระบบระเหยแบบ Mechanical Vapor Recompression (MVR) โดยนำพลังงานที่ได้จากระบบบำบัดกลับมาใช้ทดแทนน้ำมันเตาในกระบวนการผลิต โดยสำรวจข้อมูลปริมาณน้ำกากส่าที่ต้องการบำบัดต่อปี การใช้วัสดุและพลังงานในการบำบัด และผลผลิตด้านพลังงาน จากโรงงานกรณีศึกษา กำหนดให้ระบบบำบัดน้ำกากส่าต้องมีน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินผลทางเลือก โดย (1) อัตราผลผลิตด้านพลังงาน (2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินระบบบำบัด และ (3) ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) และระยะเวลาคืนทุน (PBP) ผลการศึกษา พบว่า ระบบบำบัดน้ำกากส่าที่มีความเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมผลิตสุราผสม คือ ทางเลือกที่ 3 ระบบระเหยแบบ MVR โดยให้ (1) อัตราผลผลิตด้านพลังงานโดยรวมสูงสุดเท่ากับ 0.98 เมกะจูลต่อเมกะจูล (2) ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำกากส่าน้อยที่สุดเท่ากับ 821 บาท ต่อลูกบาศก์เมตร (3) ให้ผลความคุ้มค่าในการลงทุน โดยมีค่า NPV เท่ากับ 1,745 ล้านบาท IRR เท่ากับ 53.80 % และมีระยะเวลาคืนทุน 2.14 ปี รองลงมา คือ ทางเลือกที่ 2 ระบบระเหยแบบ TVR ซึ่งให้ (1) อัตราผลผลิตด้านพลังงานโดยรวมเท่ากับ 0.73 เมกะจูลต่อเมกะจูล (2) ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำกากส่าเท่ากับ 1,416 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (3) ให้ผลความคุ้มค่าในการลงทุน โดยมีค่า NPV เท่ากับ 682 ล้านบาท IRR เท่ากับ 32.01 % และมีระยะเวลาคืนทุน 3.96 ปี ขณะที่ระบบบำบัดแบบหมักที่ไม่ใช้ออกซิเจนมีความเหมาะสมน้อยที่สุด โดยให้ (1) อัตราผลผลิตด้านพลังงานโดยรวมเท่ากับ 0.28 เมกะจูลต่อเมกะจูล (2) ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำกากส่าเท่ากับ 1,832 บาทต่อลูกบาศก์เมตร และยังไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ