การประเมินความเชื่อถือได้ของสถานีไฟฟ้าย่อยร่วมกับการพิจารณาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
รหัสดีโอไอ
Title การประเมินความเชื่อถือได้ของสถานีไฟฟ้าย่อยร่วมกับการพิจารณาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
Creator ไชยยศ มิตรเชื้อชาติ
Contributor สุรชัย ชัยทัศนีย์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword สถานีไฟฟ้าย่อย -- ความเชื่อถือได้, การวิเคราะห์คุณค่า (การควบคุมต้นทุนการ, มูลค่า (เศรษฐศาสตร์), Electric substations -- Reliability, Value analysis (Cost control), Value
Abstract เนื่องด้วยความต้องการกำลังไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องมีการสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยเพิ่มขึ้น เพื่อใช้สำหรับรองรับความต้องการกำลังไฟฟ้าเหล่านี้ ซึ่งในการสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยโดยทั่วไปจะมีปัจจัยที่ควรพิจารณา เช่น รูปแบบการจัดเรียงบัส จำนวนอุปกรณ์ที่ใช้ มูลค่าการดำเนินการ มูลค่าการบำรุงรักษา และ มูลค่าการลงทุนในการก่อสร้างเริ่มต้น เป็นต้น โดยปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า รวมถึงมูลค่าการลงทุนสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยอีกด้วย ดังนั้นการวางแผนและการออกแบบสถานีไฟฟ้าย่อยที่ดีและเหมาะสมจึงถือเป็นประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอวิธีการประเมินความเชื่อถือได้และคำนวณการลงทุนของแต่ละรูปแบบการจัดเรียงบัสภายในสถานีไฟฟ้าย่อย รวมทั้งพิจารณาเหตุการณ์การล้มเหลวของอุปกรณ์ภายในทั้งหมด โดยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้พิจารณารูปแบบการจัดเรียงบัสทั้งหมด 7 รูปแบบ คือ Single bus, Sectionalized single bus, Main-and-transfer, Breaker-and-a-half, Ring Bus, Double-bus-double-breaker และ Double-bus-single-breaker รวมทั้งพิจารณาเหตุการณ์ล้มเหลวของอุปกรณ์ภายในสถานีไฟฟ้าย่อยทั้งหมด 3 เหตุการณ์ คือ การล้มเหลวแบบพาสสีฟ (Passive failures) การล้มเหลวแบบแอคทีฟ (Active failures) และ การเกิดเหตุขัดข้องในช่วงการบำรุงรักษา (Maintenance outage) และคำนวณการลงทุนในการสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยที่เหมาะสม โดยการพิจารณาดัชนีตามหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น คือ ค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) และค่าอัตราการตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR)
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ