แนวทางการออกแบบบ้านในชุมชนแออัดในเขตเมือง(บ้านมั่นคง)ให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย
รหัสดีโอไอ
Title แนวทางการออกแบบบ้านในชุมชนแออัดในเขตเมือง(บ้านมั่นคง)ให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย
Creator พรรณินทร์ สุขเกษม
Contributor อรรจน์ เศรษฐบุตร
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword การสร้างบ้าน, ที่อยู่อาศัย--การออกแบบและการสร้าง, ชุมชนแออัด, House construction, Dwellings -- Design and construction, Slums
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการออกแบบบ้านในชุมชนแออัดในเขตเมือง(บ้านมั่นคง)ให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานของบ้านมั่นคงเป็นกรอบของแนวทางการออกแบบร่วมกับกระบวนการศึกษาสำรวจชุมชน การทดลองและการปรึกษาร่วมกับสถาปนิกบ้านมั่นคง บ้านมั่นคงเป็นหน่วยงานในสังกัดของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาชุมชนแออัดด้วยที่อยู่อาศัยที่มีความมั่นคง ผ่านกระบวนการชุมชน และการดำเนินงานร่วมกันของ พอช.กับชาวชุมชน การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาเกี่ยวกับบ้านมั่นคงมักจะเกี่ยวกับแนวทางการจัดการและสังคมศาสตร์ แต่ยังคงขาดประเด็นการออกแบบให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย การวิจัยนี้จึงใช้ประเด็นนี้ในการศึกษาเพื่อให้เกิดองค์ความรู้และแนวทางการออกแบบบ้านมั่นคงให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย เพื่อให้สถาปนิกบ้านมั่นคงซึ่งมักจะออกแบบบ้านด้วยเวลาอันจำกัด จากปัจจัยบุคลากรน้อยและปริมาณโครงการมาก สามารถทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น การวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของบ้านมั่นคง และการสัมภาษณ์สถาปนิกพอช. ร่วมกับการศึกษากรณีศึกษาโครงการบ้านมั่นคงชุมชนบ่อนไก่ที่สร้างเสร็จแล้ว ผลการศึกษาขั้นแรกแสดงว่า ตัวแปรหลักที่มีผลต่อความน่าสบายซึ่งควรใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงทดลองในขั้นต่อไป คือ อุณหภูมิ อุณหภูมิพื้นผิว และความเร็วลม โดยใช้บ้านต้นแบบ ขนาด 4.00 x 6.00 เมตร สูง 2 ชั้น ไปทำการศึกษาต่อไป การวิจัยเชิงทดลองประกอบด้วย การศึกษาอุณหภูมิ และความเร็วลม โดยมีปัจจัยของอาคารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปริมาณรังสีอาทิตย์ที่เข้าสู่อาคาร ลักษณะแผงบังแดด หลังคา ชายคา ช่องเปิดและช่องระบายอากาศ และวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง รวมถึงสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่ปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ยาก เนื่องมาจากสภาพที่ตั้งในเขตเมืองซึ่งมักมีราคาสูงและมีจำนวนผู้อยู่อาศัยมาก การวางผังจึงค่อนข้างแออัด และอยู่ในมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมาย การวิจัยจึงสร้างแนวทางก่อสร้างบนพื้นฐานของสภาพแวดล้อมที่แออัด และเป็นไปตามข้อกำหนดขั้นต่ำตามกฎหมายในทุกกรณี ผลการวิจัยนี้ คือ แนวทางการออกแบบบ้านในชุมชนแออัดในเขตเมืองให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย ง่ายต่อการนำไปใช้ของสถาปนิกพอช. ซึ่งมีความน่าสบายทั้งปี คิดเป็น 24% ซึ่งเพิ่มขึ้น 12% มีราคาค่าก่อสร้างต่อหลัง 218,739 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 3,664 บาท และมีราคาก่อสร้างต่อตารางเมตรเพิ่มขึ้น 76 บาท
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ