![]() |
การขออนุญาตอาคารประเภทโรงแรมภายใต้กฎหมายไทย กรณีศึกษา อาคารขนาดใหญ่ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การขออนุญาตอาคารประเภทโรงแรมภายใต้กฎหมายไทย กรณีศึกษา อาคารขนาดใหญ่ |
Creator | ธนเดช ศรีคราม |
Contributor | ไตรวัฒน์ วิรยศิริ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | การออกแบบสถาปัตยกรรม, โรงแรม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ, อาคาร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ, Architectural design, Hotels -- Law and legislation, Buildings -- Law and legislation |
Abstract | โรงแรมเป็นธุรกิจประเภทหนึ่งที่มีผลจากนโยบายการค้าเสรีอาเซียนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต การขออนุญาตเป็นขั้นตอนทางกฎหมายที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจโรงแรมที่มีหน่วยงานต่างๆเกี่ยวข้องในการให้อนุญาตตามกฎหมาย สถาปนิกในฐานะผู้ออกแบบโครงการจำเป็นต้องทราบขั้นตอนในการขออนุญาต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตอาคารขนาดใหญ่ ประเภทโรงแรม ในปัจจุบันว่ามีข้อดี ข้อด้อยอย่างไร เพื่อรวบรวมความเห็น และข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาต และเพื่อวิเคราะห์และเสนอแนวทางที่ชัดเจนต่อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการขออนุญาต ระเบียบวิธีวิจัย คือ การศึกษาเอกสารชั้นต้น การสร้างแบบจำลอง การสำรวจ การเลือกกรณีศึกษาและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล จากการศึกษาพบว่า การแบ่งประเภทอาคารที่อยู่ในขอบเขตที่ศึกษา มี 4 ประเภท คือ1) อาคารที่ขออนุญาตเป็นโรงแรมพื้นที่น้อยกว่า 4,000 ตร.ม. หรือน้อยกว่า 80 ห้อง 2) อาคารที่ขออนุญาตเป็นโรงแรมพื้นที่ตั้งแต่ 4,000 ตร.ม. หรือตั้งแต่ 80 ห้อง ขึ้นไป 3) อาคารที่ขออนุญาตเป็นอาคารอยู่อาศัยรวมพื้นที่น้อยกว่า 4,000 ตร.ม.หรือน้อยกว่า 80 ห้อง แต่ประกอบธุรกิจเป็นโรงแรม 4) อาคารที่ขออนุญาตเป็นอาคารอยู่อาศัยรวมพื้นที่ตั้งแต่ 4,000 ตร.ม. หรือ ตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป แต่ประกอบธุรกิจเป็นโรงแรม การขออนุญาตมีปัญหาในช่วงต่างๆ ได้แก่ 1) ปัญหาการขออนุญาตการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม คือ เกณฑ์การพิจารณามีความไม่ชัดเจน การตรวจซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงาน การขาดความเข้าใจการทำรายงานฯของแต่ละฝ่าย หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องขาดระยะเวลาการตรวจสอบ ระยะเวลาในการนำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการในที่ประชุมมีจำกัด และ การเพิ่มเติมความเห็นของรายงานฯ นอกเหนือจากประเด็นเดิม 2) ปัญหาการขออนุญาตก่อสร้าง คือ การแก้ไข รื้อถอน การก่อสร้างตามมาตรา 39 ทวิ การยื่นแก้ไขแบบตามมาตรา 39 ทวิ ในระยะเวลาที่กระชั้นชิดก่อนใบอนุญาตหมดอายุ และจำนวนเจ้าพนักงานน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการที่ขออนุญาต 3) ปัญหาการขออนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม คือ การแก้ไขรายละเอียดอาคารและเอกสารการขออนุญาต ตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 หลังการเปิดใช้งาน ประเภทโรงแรมไม่สอดคล้องกับลักษณะการใช้อาคารและขนาดอาคาร ความล่าช้าจากการรอตรวจสอบของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบ และการขาดการกำหนดระยะเวลายื่นขออนุญาตหลังได้รับใบรับรองการก่อสร้าง ข้อเสนอแนะ คือ การขออนุญาตรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมควรมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานควรมีการทำความเข้าใจในขั้นตอนอย่างต่อเนื่องกันและพิจารณาภายใต้กรอบของกฎหมาย ควรมีการจัดทำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาคารประเภทโรงแรมแต่ละขนาดอาคารตามการใช้งานในหมวดหมู่เดียวกัน ควรมีการขออนุญาตต่อหน่วยงานที่มีอำนาจในการอนุญาตไปพร้อมๆกัน แบบที่ใช้ในการขออนุญาต ควรเป็นแบบที่สามารถใช้ร่วมกันได้ทุกหน่วยงาน ผู้ประกอบการ สถาปนิก วิศวกร และนิติบุคคลผู้มีสิทธิจัดทำรายงานฯ ควรมีการประสานงานตั้งแต่การเริ่มศึกษาโครงการ การตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ ของอาคารและเอกสารก่อนการยื่นขออนุญาต การวิจัยต่อเนื่องในอนาคตควรมีการศึกษาการขออนุญาตอาคารประเภทอื่นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |