![]() |
วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางครูฉลวย จิยะจันทน์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางครูฉลวย จิยะจันทน์ |
Creator | ณัฐพงศ์ แก้วสุวรรณ์ |
Contributor | ขำคม พรประสิทธิ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | ฉลวย จิยะจันทน์, ซออู้, ดนตรีไทย, การวิเคราะห์ทางดนตรี, Musical analysis |
Abstract | ผลการวิจัยพบว่าเพลงกราวในทางครูฉลวย จิยะจันทน์มีชื่อเสียงจากอดีตจนปัจจุบันนี้ได้ สืบเนื่องมาจากการแสดงเดี่ยวกราวในเพื่อเป็นการเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน คุณครูได้รับการถ่ายทอดจากครูพระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) ต่อมาครูฉลวย จิยะจันทน์ จึงได้ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ในสายคุณครูอีกทอดหนึ่ง โครงสร้างการเดี่ยวซออู้เพลงกราวในทางครูฉลวย จิยะจันทน์ มีโครงสร้างการโยนตาม กลุ่มเสียงต่างๆครบ ๖ เสียง ๖ กลุ่มการโยน เช่นเดียวกับทำนองหลักโดยสมบูรณ์ มีการยึดหลักโครงสร้างเดียวกับทำนองหลัก หากแต่มีการใช้หลักการประพันธ์ในการยืดยุบสำนวนเดิมจากโครงสร้างทำนองหลักทางฆ้องมาแปรทำนองให้เป็นลักษณะของทางเดี่ยวซออู้ตามขนบอย่างลุ่มลึกและน่าสนใจจากการวิเคราะห์สังคีตลักษณ์และกลวิธีพิเศษในการเดี่ยวซออู้เพลงกราวในทางครูฉลวย จิยะจันทน์ ผู้วิจัยพบว่ามีการใช้โทน-รำมะนา ตีหน้าทับกราวนอกประกอบจังหวะ มีลักษณะการดำเนินทำนองและกลวิธีพิเศษต่างๆอย่างเป็นลักษณะเฉพาะ แบ่งเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกคือ สำนวนกลอน พบ ๕ ประการ ได้แก่ สำนวนการเรียงตัวของนิ้ว สำนวนกลอนเถาวัลย์ ลักษณะการเล่นของสำนวน เช่น การยืนเสียง การซ้ำสำนวน การทอนสำนวน เป็นต้น สำนวนการครวญเสียงโดยสอดแทรกกลวิธีพิเศษต่างๆไว้ สำนวนปี่ในลักษณะการย้ำกลุ่มโน้ตมากกว่า ๑ ครั้งและครั้งเดียวจบ ส่วนที่สองคือ กลวิธีพิเศษ พบ ๑๔ ประการ ได้แก่ การเปิดเสียง การรูดสาย การเลียนสำเนียงปี่ การคลึงเสียงหรือคลึงนิ้ว การขยักเสียง การสะอึกเสียง การสะบัดนิ้ว ๒-๕เสียง การสะบัดคันชัก การรวบเสียงหรือรวบนิ้ว การขยี้ การเน้นเสียงด้วยการพรมเสียงสั้น การพรมเสียงยาว การรัวคันชัก การครวญเสียง ส่วนที่สาม คือ วิธีการบรรเลง พบ ๕ ประการ ได้แก่ การใช้นิ้วกดสายด้วยนวมนิ้วและปลายนิ้วสลับกัน การใช้ ๒-๓ นิ้วในการจับคันชัก การขึ้นประโยคด้วยคันชักเข้าก่อน ระบบการใช้คันชักทั้งแบบตามขนบและไม่ตายตัว การเคลื่อนระดับมือลงมาปฏิบัติในช่วงเสียงสูงสลับ (ลง-ขึ้น) ไปมามากกว่า ๑ รอบและการเคลื่อนลงมารอบเดียวจบ ทั้งนี้ จุดประสงค์ของการใช้ลักษณะดังกล่าวปรากฏขึ้นเพื่อคุณภาพเสียงเป็นสำคัญ เน้นเสียงที่นุ่มนวล มีเสียงโต มีความต่อเนื่องของเสียง สำนวนและอารมณ์เพลง อีกทั้งเพื่อเป็นการเอื้อต่อความคล่องตัวของผู้บรรเลงและทำให้ไม่ขัดต่อสำนวนกลอนในขณะที่บรรเลงในอัตราที่กระชับ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |