![]() |
การปรับปรุงอัตราบิตผิดพลาดของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การปรับปรุงอัตราบิตผิดพลาดของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ |
Creator | อัจฉราภรณ์ ดำรงวณิชย์ |
Contributor | อังศุมาลิน เสนจันทร์ฒิไชย |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | ฮาร์ดดิสก์, ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ), Hard disks (Computer science), Six sigma (Quality control standard) |
Abstract | งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการอ่าน-เขียนของหัวอ่านเขียนในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่เกี่ยวกับค่าอัตราบิตผิดพลาด จากการศึกษาข้อมูลขั้นต้นพบว่าค่าดัชนีชี้วัดความสามารถของกระบวนการ (Cpk) ของอัตราบิตผิดพลาดมีค่าเท่ากับ 0.72 ซึ่งต่ำกว่าข้อกำหนดเฉพาะของผลิตภัณฑ์แบบพิกัดด้านเดียวคือด้านต่ำที่มีค่าเท่ากับ 1.25 ในการปรับปรุงค่า Cpk ของอัตราบิตผิดพลาดจะประยุกต์ใช้หลักการของ Six Sigma 5 ขั้นตอนโดยเริ่มจากระยะนิยามปัญหา ระยะวิเคราะห์การวัดเพื่อหาสาเหตุของปัญหา ระยะวิเคราะห์สาเหตุปัญหา ระยะปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ และสุดท้ายคือระยะการติดตามควบคุม ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% พบว่าค่าความร้อนที่จ่ายให้กับหัวอ่านเขียน ค่าแอมพลิจูดของกระแส ค่าส่วนเกินของกระแส จำนวนสิ่งแปลกปลอมบนจานบันทึกข้อมูล และความกว้างของหัวอ่านเขียน เป็นปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราบิตผิดพลาด เนื่องจากค่า p-value ของปัจจัยดังกล่าวมีค่าน้อยกว่า 0.05 แต่เนื่องจากจำนวนสิ่งแปลกปลอมบนจานบันทึกข้อมูล และความกว้างของหัวอ่านเขียนเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นการทดลองในงานวิจัยนี้จึงเลือกใช้การออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียลสำหรับปัจจัยที่สามารถควบคุมได้จำนวน 3 ปัจจัย ผลจากการวิเคราะห์พบว่าอิทธิพลร่วมของปัจจัยค่าความร้อนที่จ่ายให้หัวอ่านเขียนและแอมพลิจูดของกระแส และอิทธิพลร่วมของแอมพลิจูดของกระแสและค่าส่วนเกินของกระแสมีผลต่ออัตราบิตผิดพลาดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 5% และจากการวิเคราะห์ผลด้วยวิธีเชิงเส้นทั่วไปพบว่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมของค่าความร้อนที่จ่ายให้กับหัวอ่านเขียน ค่าแอมพลิจูดของกระแส และค่าส่วนเกินของกระแส มีค่าเท่ากับ 35 DAC 10 มิลลิแอมป์ และ 9 มิลลิแอมป์ ตามลำดับ ผลจากการปรับปรุงกระบวนการด้วยการปรับระดับปัจจัยให้มีค่าที่เหมาะสมดังกล่าวพบว่าค่า Cpk ของอัตราบิตผิดพลาดเพิ่มขึ้นจาก 0.72 เป็น 2.38 และสัดส่วนของเสียประเภท Head related ลดลง 54.87% จาก 21.85% เป็น 9.86% |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |