แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ : กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
รหัสดีโอไอ
Title แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ : กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
Creator ทวิช มณีพนา
Contributor เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, กำลังคน, นิคมอุตสาหกรรม, การวางแผนกำลังคน, Maptaphut Industrail Estate, Industrial districts, Manpower, Manpower planning
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของกำลังคนในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ และ (2) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ในการศึกษาผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามโดยใช้สถิติการหาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์กลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. คุณลักษณะของกำลังคนในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านความรู้ แรงงานฝีมือ สามารถกำหนดทิศทางของโรงงาน/บริษัทได้ แรงงานฝีมือจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับนโยบาย/การวางแผนงาน สามารถกำหนดนโยบาย ที่มีความชัดเจน และสามารถนำไปปฏิบัติได้ ส่วนแรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ ต้องมีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าฝึกอบรมกับทางโรงงาน/บริษัท ที่จะดำเนินการให้ก่อนเข้าทำงาน (2) ด้านทักษะ แรงงานฝีมือต้องมีทักษะการคิดเชิงระบบ สามารถวิเคราะห์ภาพรวม และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ และทักษะการสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้แรงงานระดับรองลงมามีความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม และ (3) ด้านบุคลิกอุปนิสัย แรงงานฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ ต้องมีจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ยอมรับว่าตนเองมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ และปฏิบัติอย่างจริงจัง 2. แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่(1) การศึกษาในระบบ แรงงานฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ การจัดการศึกษาต้องมุ่งเน้นความรู้ ด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐศาสตร์ และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยแรงงานฝีมือจะต้องมุ่งเน้นความรู้เพิ่มเติมในด้านนโยบาย/การวางแผนงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม การขนส่ง สถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบอุตสาหกรรม (2) การศึกษานอกระบบ แรงงานฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ จะใช้การฝึกอบรมภายใน/ภายนอก โรงงาน/บริษัท เพื่อเพิ่มเติมความรู้และประสบการณ์ เฉพาะด้านนั้นๆ เช่น ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (3) การศึกษาตามอัธยาศัย แรงงานฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ จะใช้การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม เสียงตามสาย และผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ควรทำร่วมกับชุมชน โดยให้กำลังคนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ตั้งแต่ การร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมทำ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ