![]() |
การวิเคราะห์ระบบการสำรวจข้อมูลขนาดใหญ่ระดับประเทศ : กรณีศึกษาโครงการติดตามสภาวการณ์เด็ก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การวิเคราะห์ระบบการสำรวจข้อมูลขนาดใหญ่ระดับประเทศ : กรณีศึกษาโครงการติดตามสภาวการณ์เด็ก |
Creator | พุฒิพัฒน์ ลีลาวัฒนะกุล |
Contributor | ศิริเดช สุชีวะ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | สถาบันรามจิตติ, โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด, การสำรวจ, ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ, Surveying, Information storage and retrieval systems |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบระบบการสำรวจข้อมูลในโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนในแต่ละระดับ (ระดับประเทศ ระดับภาคและระดับจังหวัด) ตามมาตรฐานสำรวจข้อมูลขนาดใหญ่ 2) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นมาตรฐานเดียวกันของระบบการสำรวจข้อมูลในแต่ละพื้นที่ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นมาตรฐานเดียวกันของการจัดเก็บข้อมูล 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงระบบการสำรวจข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับโครงการการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กับเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักวิจัยของโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด จำนวน 81 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายโดยใช้โปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) เมื่อพิจารณาจากจุดตัดคะแนน (Cut-off Score) ที่ถือว่าการเก็บข้อมูลผ่านเกณฑ์ในระดับที่น่าพอใจ คือ ร้อยละ 80 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า 4.00 ขึ้นไป และผ่านเกณฑ์ในระดับที่ยอมรับได้คือร้อยละ 70 หรือเทียบเท่า 3.50 ขึ้นไป โดยใช้ Likert Scale (1– 5) เป็นเกณฑ์ พบว่า โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) ผ่านเกณฑ์ในระดับที่ยอมรับได้ทั้งหมด แต่พบว่ามีข้อที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ในระดับที่น่าพอใจ อยู่ 8 ข้อ ซึ่งเมื่อจำแนกดูในรายระดับแล้ว จะพบที่เป็นปัญหาร่วมทั้ง 3 ระดับอยู่ 3 ข้อ คือ การจัดฝึกอบรมให้แก่บุคลากร อาทิ เทคนิคการสุ่มตัวอย่างเทคนิคการเขียนรายงานการคัดเลือกครูหรือผู้ช่วยในการแจกแบบสำรวจ การชี้แจงนักเรียนตลอดจนการเก็บรวบรวมแบบสำรวจคืนทีมจังหวัด และ การมีจำนวนบุคลากรเพียงพอต่อการสำรวจข้อมูลและเป็นปัญหาร่วมอย่างน้อย 2 ระดับอยู่ 5 ข้อ 2) เมื่อวิเคราะห์ในระดับพื้นที่(ภาค) พบว่าทุกภาคผ่านเกณฑ์ในระดับที่ยอมรับได้ แต่มี 1 ภาค จาก 5 ภาค ที่คะแนนรวมยังไม่ถึงเกณฑ์ในระดับที่น่าพอใจ เมื่อจำแนกดูรายข้อของแต่ละภาค พบปัญหาร่วมของ 4 ใน 5 ภาคที่คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ในระดับที่น่าพอใจซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญ 1 เรื่อง คือ การจัดฝึกอบรมให้แก่บุคลากร และพบปัญหาร่วมที่คะแนนรวมไม่ถึงเกณฑ์ในระดับที่น่าพอใจใน 3 ภาค อีก 8 ข้อ ทั้งนี้เหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) ปัจจัยคน 2) ปัจจัยระยะเวลา 3) ปัจจัยเชิงบริบทพื้นที่ 4) ปัจจัยความร่วมมือ และ 5) ปัจจัยเนื่องจากเงื่อนไขอื่นๆ ของแหล่งทุน จากผลการวิจัยข้างต้นผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ 1) การลงทุนกับการพัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างพอเพียง 2) การปรับเงื่อนไขของแหล่งทุนให้ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสภาพและข้อจำกัดในการเก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่ และ 3) การศึกษาความต้องการของหน่วยงานส่วนกลางและระดับพื้นที่ตลอดจนการทำข้อตกลงความร่วมมือกับบางหน่วยงาน เพื่อให้การเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |