![]() |
แนวทางการสอนรายวิชาด้านสุนทรียศาสตร์ในบริบทของทัศนศิลป์และดนตรีสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | แนวทางการสอนรายวิชาด้านสุนทรียศาสตร์ในบริบทของทัศนศิลป์และดนตรีสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี |
Creator | มนธวัช จำปานิล |
Contributor | ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์, รังสิพันธุ์ แข็งขัน |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | สุนทรียศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน, ทัศนศิลป์, ดนตรี, Aesthetics -- Study and teaching, Art, Music |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการสอนรายวิชาด้านสุนทรียศาสตร์ในบริบทของ ทัศนศิลป์ และดนตรีสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ในด้านจุดประสงค์ เนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ การสอน และการวัดผลประเมินผล งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านสุนทรียศาสตร์ซึ่งเป็นแกนหนึ่งในทฤษฎี การสอนศิลปศึกษา 4 แกนหรือ DBAE โดยเน้นสุนทรียศาสตร์ทางทัศนศิลป์และดนตรี ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างกับผู้สอนรายวิชาด้านสุนทรียศาสตร์ในบริบท ของทัศนศิลป์ และดนตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 24 คน และใช้ แบบสอบถามชนิดประเมินค่า 5 ช่วงคะแนนกับนักศึกษาปริญญาตรีจำนวน 300 คน นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ มาวิเคราะห์เนื้อหา และคำนวณหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อสรุปข้อมูล และอภิปรายผลการวิจัย ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าแนวทางการสอนรายวิชาด้านสุนทรียศาสตร์ในบริบทของทัศนศิลป์ และดนตรี 1) จุดประสงค์ ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานของศิลปะแขนงต่างๆ โดยเน้นที่การรับรู้คุณค่าความงาม มีรสนิยมอันดี สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรประชุมวางแผนร่วมกันของ ทีมผู้สอนเพื่อกำหนดทิศทางการสอน 2) เนื้อหาประกอบด้วยพื้นฐานของศิลปะ การบูรณาการประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรบูรณาการศาสตร์ทั้ง 3 ด้านให้เป็นเนื้อเดียวกัน 3) กิจกรรมใช้แบบ บรรยายประกอบสื่อที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง ข้อเสนอแนะในประเด็นนี้ คือ ควรใช้วิธีการศึกษานอก สถานที่ การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองและใช้การสอนเป็นทีมชุดเดียวกัน 4) สื่อการสอน ควรใช้สื่อพื้นฐานที่ทำ ให้เกิดสุนทรียภาพต่อผู้เรียนมากที่สุด และควรใช้สื่อการสอนซึ่งมีการบูรณาการทางสุนทรียภาพเนื้อหาที่ครบ ทั้ง 3 ด้าน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรมีการปรับปรุงตำราและสื่อการสอนให้ทันสมัย มีความหลากหลายมาก ขึ้น 5) การวัดประเมินผล ควรเน้นการวัดด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัยและ ควรใช้เครื่องมือวัดผลหลายแบบร่วมกัน ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการวัดด้านจิตพิสัยผู้เรียน เกี่ยวกับความรู้สึก การเห็นคุณค่าความงาม |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |