การพัฒนากระบวนการทำงานของคลังอะไหล่เพื่อการส่งออกของบริษัทผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตร
รหัสดีโอไอ
Title การพัฒนากระบวนการทำงานของคลังอะไหล่เพื่อการส่งออกของบริษัทผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตร
Creator เกริกศักดิ์ มากมูล
Contributor โอฬาร กิตติธีรพรชัย
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล, อะไหล่, เครื่องจักรกลการเกษตร, การจัดการคลังสินค้า, คลังสินค้า, Machine parts, Spare parts, Agricultural machinery, Warehouses -- Management, Warehouses
Abstract วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการออกแบบขั้นตอนการทำงานและพื้นที่สำหรับการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่ในคลังสินค้าเครื่องจักรกลการเกษตร เนื่องด้วยความต้องการในการบรรจุที่แตกต่างกันกระบวนการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่จึงต้องถูกแยกกระบวนการบรรจุภัณฑ์ในประเทศที่มีอยู่และต้องใช้สายบรรจุภัณฑ์ใหม่ซึ่งแตกต่างในแง่ของพื้นที่และกระบวนการทำงาน เพื่อการออกแบบสายบรรจุภัณฑ์ใหม่ผู้วิจัยได้วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของคลังสินค้าโดยอาศัยประวัติกิจกรรมของคลังสินค้า ( Warehouse Activity Profile) ซึ่งเป็นการทำเหมืองข้อมูล (Data mining) ของกิจกรรมภายในคลังสินค้าเพื่อค้นหาลักษณะเฉพาะตัวของคลังสินค้าที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล และนำไปใช้ปรับปรุงการดำเนินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรในคลังสินค้า ผลจากการศึกษาประวัติกิจกรรมคลังสินค้าพบว่าสามารถเพิ่มพื้นที่ในสายการบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อรองรับกระบวนการทำงาน โดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้ (1)การกำจัดสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวภายในระยะเวลา 5 ปี (2) การปรับพื้นที่ในการจัดเก็บชิ้นส่วนขนาดกลาง จากการดำเนินการด้วยวิธีแรกพบว่าสามารถเพิ่มพื้นที่ได้ 563.9 ตารางเมตร ในขณะที่วิธีที่สองสามารถเพิ่มการจัดเก็บชิ้นส่วนขนาดกลางมีพื้นที่การวางสินค้าได้อีก 1,120 ตำแหน่ง หรือคิดเป็น 16 % ของพื้นที่ หลังที่ได้พื้นที่เพียงพอสำหรับกระบวนการส่งออก ผู้วิจัยนำเสนอการออกแบบสถานีการทำงานและขั้นตอนการทำงานสำหรับพนักงานที่ทำงานในสายการบรรจุโดยใช้เวลามาตรฐาน ผลการออกแบบปรากฎว่าขั้นตอนการบรรจุใช้เวลาโดยเฉลี่ยต่อกล่องอยู่ที่ 25.33 นาที โดยอัตราการผลิตอยู่ที่ 17 กล่องต่อวัน เมื่อเปรียบเทียบผลการออกแบบกับการดำเนินงานจริงระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2555 พบว่าสายบรรจุภัณฑ์ยังทำงานได้ไม่เต็มกำลัง เนื่องจากปริมาณคำสั่งซื้ออะไหล่ส่งออกยังมีไม่เพียงพอ นอกจากนี้กระบวนการทำบรรจุภัณฑ์ของการส่งออกมีพื้นที่ว่างภายในกล่อง คิดเป็น 41% โดยมีปัจจัยด้านน้ำหนักเป็นเงื่อนไขสำคัญ ดังนั้นควรดำเนินการปรับปรุงกล่องบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้มีความเหมาะสมกับการส่งออกในครั้งต่อไป
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ