สมการลดทอนเพื่อประมาณค่าการสั่นไหวของพื้นดินเนื่องจากแผ่นดินไหวสำหรับประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Title สมการลดทอนเพื่อประมาณค่าการสั่นไหวของพื้นดินเนื่องจากแผ่นดินไหวสำหรับประเทศไทย
Creator นครินทร์ ดำเนินสวัสดิ์
Contributor ฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword แผ่นดินไหว, สมการ, Earthquakes, Equations
Abstract ในการสร้างแผนที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวสำหรับประเทศไทยที่ผ่านมานั้น ยังไม่มีสมการ ลดทอนคลื่นแผ่นดินไหวที่พัฒนาไว้สำหรับพื้นที่บริเวณประเทศไทยโดยเฉพาะ เนื่องจากประเทศ ไทยยังขาดแคลนข้อมูลการสั่นไหวของพื้นดินจากแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่า 4.5 และมี ระยะทางจากแหล่งกำเนิดถึงสถานีตรวจวัดไม่เกิน 200 กิโลเมตร จึงต้องใช้สมการที่พัฒนาขึ้น จากต่างประเทศในการประมาณความรุนแรงของการสั่นไหวของพื้นดิน แต่เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2011 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ที่ประเทศพม่า ซึ่งมีจุดกำเนิดค่อนข้างใกล้กับประเทศไทย ห่าง จากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพียง 30 กิโลเมตร ทำให้สถานีตรวจแผ่นดินไหว ของสำนัก เฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ประเทศไทยสามารถบันทึกข้อมูลการสั่นไหวของพื้นดินที่ ค่อนข้างรุนแรงได้ที่อำเภอแม่สาย และบันทึกการสั่นไหวที่ไม่รุนแรงนักได้ที่หลายสถานี เป็น จำนวนมากพอสมควร จึงทำให้สามารถนำข้อมูลที่ได้ใหม่ ไปใช้ทำการศึกษาและทบทวนสมการ ลดทอนแผ่นดินไหวที่เหมาะสมกับประเทศไทยที่น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข้อมูลการสั่นไหวของพื้นดินเนื่องจากแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน โดยการศึกษานี้แบ่งกลุ่มข้อมูลที่บันทึกได้ ตามลักษณะชั้นดินของที่ตั้งสถานีที่คลื่นถูกบันทึก และแบ่งกลุ่มข้อมูลตามบริเวณการแปรสัณฐานของเปลือกโลกแล้วนำไปวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อ พัฒนาสมการการลดทอนคลื่นแผ่นดินไหวสำหรับประเทศไทย สำหรับใช้ในการประมาณความ รุนแรงของการสั่นไหวของพื้นดิน ได้แก่ ความเร่งสูงสุดของพื้นดิน และความเร่งสเปคตรัม สำหรับคาบธรรมชาติที่ 0.2 และ 1 วินาที ซึ่งคาดว่าจะทำให้สามารถค่าประมาณความรุนแรง ของการสั่นไหวของพื้นดินได้อย่างน่าเชื่อถือมากขึ้น
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ