![]() |
การประเมินสมรรถนะค่าเวลาประวิงโดยเฉลี่ยของเทคนิคการแก้ไขการชนแบบ CFP UNI และอัลกอริทึม Modified Tree |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การประเมินสมรรถนะค่าเวลาประวิงโดยเฉลี่ยของเทคนิคการแก้ไขการชนแบบ CFP UNI และอัลกอริทึม Modified Tree |
Creator | กมลาสน์ วรรณคง |
Contributor | ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | ระบบสื่อสารข้อมูล, การสื่อสารข้อมูล, โปรโตคอลการเข้าถึงแบบหลายทาง (โปรโตคอลเครือข่ายคอมพิวเตอร์), Data transmission systems, Multiple access protocols (Computer network protocols) |
Abstract | วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอเทคนิคการแก้ไขการชนจำนวน 3 วิธี ได้แก่ อัลกอริทึม Modified CFP, Modified UNI และ Modified Tree ซึ่งได้รับการพัฒนาและปรับปรุงขึ้นจากเทคนิคการแก้ไขการชนแบบดั้งเดิม ได้แก่ อัลกอริทึม CFP, UNI และ Tree ตามลำดับ การวัดสมรรถนะของอัลกอริทึมพิจารณาจากค่าเวลาประวิงโดยเฉลี่ย โดยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้พัฒนาเทคนิคการหาค่าเวลาประวิงเฉลี่ยด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์สำหรับอัลกอริทึม CFP, Modified CFP, UNI และ Modified UNI และพัฒนาโปรแกรมจำลองการทำงานของอัลกอริทึมทั้งหมด ผลการทดสอบสมรรถนะของอัลกอริทึมเหล่านี้พบว่า 1) กลไกการปรับค่าความน่าจะเป็นให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ใช้ที่มีอยู่ในระบบแทนการใช้ค่าความน่าจะเป็นแบบคงที่ตลอดตามที่เสนอในอัลกอริทึม Modified CFP ช่วยให้ค่าเวลาประวิงโดยเฉลี่ยในการแก้ปัญหาการชนลดลงกว่าอัลกอริทึม CFP แบบดั้งเดิมได้ 2) การปรับขนาดของเฟรมให้สอดคล้องกับจำนวนผู้ใช้ที่มีอยู่ในระบบจำนวนผู้ใช้ที่มีอยู่ในระบบแทนการใช้ขนาดเฟรมคงที่ตลอดตามที่เสนอใน อัลกอริทึม Modified UNI ช่วยให้ค่าเวลาประวิงโดยเฉลี่ยในการแก้ปัญหาการชนลดลงกว่าอัลกอริทึม UNI แบบดั้งเดิมได้อย่างมีนัยสำคัญ 3) เทคนิคการปรับลดจำนวนสล็อตที่ไม่ก่อให้ความสำเร็จลงตามที่เสนอในอัลกอริทึม Modified Tree ช่วยให้ประสิทธิภาพการใช้งานสล็อตดีขึ้น ส่งผลให้ค่าเวลาประวิงโดยเฉลี่ยในการแก้ปัญหาการชนลดลงกว่าอัลกอริทึม Tree แบบดั้งเดิมได้อย่างมาก ทั้งนี้ ประสิทธิภาพที่เพิ่มสูงขึ้นของอัลกอริทึมเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากข้อสมมุติฐานที่ว่าผู้ใช้ทราบข้อมูลผลการส่งมากขึ้น และอัลกอริทึมที่เสนอก็สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |