![]() |
ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งต่างๆด้วยวิธีการตรวจลำดับเบสและการแสดงออกเป็นโปรตีนด้วยวิธีอิมมูโนฮิสโตเคมีในยีนกลูต้าไธโอนเอสทรานเฟอร์เรสชนิด พี1 ในมะเร็งเต้านม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งต่างๆด้วยวิธีการตรวจลำดับเบสและการแสดงออกเป็นโปรตีนด้วยวิธีอิมมูโนฮิสโตเคมีในยีนกลูต้าไธโอนเอสทรานเฟอร์เรสชนิด พี1 ในมะเร็งเต้านม |
Creator | วัลลา ฟองชัยญา |
Contributor | พิเชฐ สัมปทานุกุล |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | เมทิลเลชัน, เต้านม -- มะเร็ง, อิมมูโนฮีสโตเคมี, การแสดงออกของยีน, Methylation, Breast -- Cancer, Immunohistochemistry, Gene expression |
Abstract | ที่มาและปัญหา: ยีนGSTP1 ผลิตเอนไซม์ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารคะตะลิสส์ในกระบวนการกำจัดสารพิษออกจากเซลล์ การเกิดเมทิลเลชั่นและไม่แสดงโปรตีนของยีนนี้พบว่ามีความสัมพันธ์กับการตอบสนองการใช้ยากลุ่มแทกเซนในมะเร็งเต้านม แต่ผลการตรวจเมทิลเลชั่นด้วยเทคนิค Methylation Specific PCR ของงานวิจัยก่อนหน้านี้ พบว่ามีตัวอย่างบางรายที่ให้ผลไม่สอดคล้องกับผลการแสดงออกเป็นโปรตีนของเซลล์มะเร็ง วัตถุประสงค์: เพื่อใช้เทคนิคการตรวจลำดับเบสหาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งต่างๆกับการแสดงหรือไม่แสดงออกเป็นโปรตีนของยีน GSTP1 ในมะเร็งเต้านม วิธีการทดลอง: ใช้เทคนิคการตรวจลำดับเบส (Bisulfite sequencing technique) ศึกษาภาวะเมทิลเลชั่นในชิ้นเนื้อมะเร็งเต้านมจำนวน 46 รายที่มีผลการย้อมอิมมูโนฮิสโตเคมีด้วยแอนติบอดี GSTP1 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเกิดเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งต่างๆกับผลของโปรตีน ผลการทดลอง: การพบเมทิลเลชั่นซึ่งควรสอดคล้องกับการไม่มีโปรตีน ทำให้จำแนกผลการทดสอบได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่พบเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งใด 17 รายซึ่งควรสอดคล้องกับการมีโปรตีน พบว่ามี 13 รายสอดคล้องและ4 รายไม่สอดคล้อง 2) กลุ่มที่พบซีพีจีที่เกิดเมทิลเลชั่นจำนวน 1-4 ตำแหน่ง มี 14 ราย ซึ่งควรสอดคล้องกับการไม่มีโปรตีน พบว่ามี 5 รายให้ผลสอดคล้อง และ 9 รายไม่สอดคล้อง และ 3) กลุ่มที่พบซีพีจีที่เกิดเมทิลเลชั่นจำนวนมากกว่า 4 ตำแหน่ง มี 15 ราย ซึ่งควรสอดคล้องกับการไม่มีโปรตีน พบว่า 13 รายสอดคล้อง และ 2 รายไม่สอดคล้อง การวิเคราะห์ผลพบความสัมพันธ์ของจำนวนซีพีจีที่เกิดเมทิลเลชั่นกับการไม่แสดงออกเป็นโปรตีนมีนัยสำคัญ (p <0.01) และการวิเคราะห์ตำแหน่งของซีพีจีที่เกิดเมทิลเลชั่น พบ 12 ตำแหน่งที่มีผลต่อการไม่แสดงออกเป็นโปรตีน ได้แก่ ตำแหน่งที่ 3, 6, 10-13, 19-22, 25 และ 28 ในทางกลับกัน พบ 6 ตำแหน่ง ที่ไม่มีผลต่อการไม่แสดงออกเป็นโปรตีน ได้แก่ ตำแหน่งที่ 8, 16, 24, 26, 30 และ 33 สรุปผลการทดลอง: การไม่แสดงออกเป็นโปรตีนของยีน GSTP1 ส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการเกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นบนโปรโมเตอร์ของยีน อย่างไรก็ตาม การไม่แสดงออกของโปรตีนที่เกิดเมทิลเลชั่นยังมีปัจจัยที่มีผลคือจำนวนซีพีจีและตำแหน่งซีพีจีที่เกิดเมทิลเลชั่นนั้น การออกแบบไพรเมอร์เพื่อใช้ตรวจดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นจึงควรคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |