![]() |
การพัฒนาชุดตรวจสอบแรกโทพามีนโดยใช้เทคนิคเอนไซม์ลิงค์อิมมูโนซอร์เบนต์แอสเสย์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนาชุดตรวจสอบแรกโทพามีนโดยใช้เทคนิคเอนไซม์ลิงค์อิมมูโนซอร์เบนต์แอสเสย์ |
Creator | กนกกร คงอาษา |
Contributor | นันทิกา คงเจริญพร, กิตตินันท์ โกมลภิส |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | เอนไซม์ลิงค์อิมมูโนซอร์เบนท์แอสเส, แอดรีเนอร์จิค เบตาอะโกนิสต์, อาหารสัตว์ -- การปนเปื้อน, Ractopamine, สุกร -- อาหาร, Enzyme-linked immunosorbent assay, Adrenergic beta agonists, Feeds -- Contamination, Swine -- Food |
Abstract | แรกโทพามีนเป็นสารเคมีที่อยู่ในกลุ่มเบตาอะโกนิสต์ และได้รับการอนุญาตให้ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสำหรับสุกรและโคกระบือโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา เพื่อเร่งการสร้างโปรตีนและเร่งการสลายไขมัน ทำให้สัตว์มีกล้ามเนื้อมากขึ้น แต่กลุ่มประเทศในยุโรปและเอเชียนั้นห้ามใช้แรกโทพามีนเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ จึงได้มีการกำหนดค่าปริมาณสารตกค้างสูงสุดที่ให้มีได้ (Maximum Residue Limits, MRL) ทำให้ต้องมีการตรวจวัดปริมาณแรกโทพามีนในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และเนื่องจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ได้ประสบความสำเร็จในการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี (mAb) ต่อแรกโทพามีน ในการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้แอนติบอดีดังกล่าวตรวจวัดแรกโทพามีนด้วยวิธีเอนไซม์ลิงค์อิมมูโนซอร์เบนต์แอสเสย์ (enzyme-linked immunosorbent assay, ELISA) ในรูปแบบต่างๆ จากการทดลองพบว่า Direct competitive ELISA (RAC-HRP) ให้ค่าปริมาณของสารที่ทำให้อัตราส่วนของค่าการดูดกลืนแสง B/Bo ลดลงครึ่งหนึ่ง (50% inhibition concentration, IC50) และค่าปริมาณสารต่ำสุดที่วัดได้ (limit of detection, LOD) เท่ากับ 21.0 และ 5.33 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ ในขณะที่ Indirect competitive ELISA (GAM-HRP) จะให้ค่า IC50 และ LOD เท่ากับ 0.60 และ 0.09 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ และในรูปแบบสุดท้าย Indirect competitive ELISA (streptavidin-HRP) มีค่า IC50 และ LOD เท่ากับ 0.23 และ 0.035 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ รูปแบบ Indirect competitive ELISA (streptavidin-HRP) สามารถตรวจวัดแรกโทพามีนได้ในช่วงความเข้มข้น 0.05-5 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร โมโนโคลนอลแอนติบอดีสามารถ เกิดปฏิกิรยาข้ามกับสารอื่นในกลุ่มเบตาอะโกนิสต์ ต่ำกว่า 48.5% แต่เกิดปฏิกิริยาข้ามกับสารนอกกลุ่มเบตาอะโกนิสต์ต่ำกว่า 0.01% เมื่อทดสอบหาปริมาณแรกโทพามีนในตัวอย่างเนื้อหมูที่เติมแรกโทพามีนลงไป พบว่า % recovery อยู่ในช่วง 85-108% และ % coefficient of variation (CV) อยู่ในช่วง 1.6-14.7% ผลการทดลองต่างๆ แสดงว่าการใช้ Indirect competitive ELISA (streptavidin-HRP) เหมาะสมสำหรับตรวจหาแรกโทพามีนในตัวอย่างเนื้อหมู |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |