![]() |
เภสัชจลนศาสตร์ของไอโคเดกทรินในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและไม่เป็นเบาหวาน ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | เภสัชจลนศาสตร์ของไอโคเดกทรินในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและไม่เป็นเบาหวาน ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ |
Creator | กมลรัตน์ วัฒนะ |
Contributor | เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์, พิสุทธิ์ กตเวทิน |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | เภสัชจลนศาสตร์, การล้างไตทางช่องท้อง, ไอโคเดกซตริน, ไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย, Pharmacokinetics, Peritoneal dialysis, Icodextrin, Chronic renal failure -- Patients |
Abstract | ที่มา: ไอโคเดกทรินเป็นน้ำยาล้างไตทางช่องท้องที่เป็นสารกลูโคสโพลีเมอร์ น้ำยาชนิดนี้กำจัดน้ำโดยอาศัยความเป็น colloid osmosis ทำให้ต้องทิ้งค้างน้ำยาไอโคเดกทรินในช่องท้องเป็นเวลานาน ด้วยคุณสมบัติความเป็น colloid ทำให้สามารถนำมาใช้ในผู้ที่มีปัญหาผนังช่องท้องมีอัตราการแลกเปลี่ยนสสารไว (high transporter) ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเบาหวาน ระหว่างหรือหลังจากมีการติดเชื้อภายในช่องท้องอย่างรุนแรง และผู้ที่ผ่านการล้างไตทางช่องท้องต่อเนื่องมานานหลายปี จนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่ได้มีการศึกษาถึงเภสัชจลนศาสตร์ของไอโคเดกทรินในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ทำการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ เปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและไม่เป็นเบาหวาน วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า มีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมงานวิจัยสองโรงพยาบาลคือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลตำรวจ ผู้ป่วยที่เข้าร่วมงานวิจัยนอนที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นเวลา 1 วัน ผู้ป่วยแต่ละคนได้รับการใส่น้ำยาไอโคเดกทริน ปริมาณ 1.5 ลิตรเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 8 โมงเช้าถึง 2 ทุ่ม หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการถ่ายน้ำยาไอโคเดกทรินออกจากช่องท้อง และทำการล้างไตทางช่องท้องต่อด้วยเครื่องอัตโนมัติ โดยใช้สารละลายกลูโคสมาตรฐานปริมาณ 9-10 ลิตร จำนวน 5 รอบ ตั้งแต่เวลา 2 ทุ่มถึง 8 โมงเช้า วิเคราะห์ไอโดเดกทรินและสารอนุพันธ์ ในเลือด ปัสสาวะ น้ำในช่องท้องที่จุดเวลาต่างๆ หลังจากนอนโรงพยาบาล 24 ชั่วโมงแล้ว ผู้ป่วยกลับบ้านและนัดตรวจติดตามวันที่ 3, 7, 14, 28 วิเคราะห์ไอโดเดกทรินและสารอนุพันธ์ในเลือด ปัสสาวะ น้ำในช่องท้อง ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 12 รายที่ทำการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติได้เข้าร่วมงานวิจัย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน 8 ราย ไม่เป็นเบาหวาน 4 ราย ผู้ป่วยทุกรายใส่น้ำยาไอโคเดกทรินทางช่องท้องวันละ 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 28 วัน พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีข้อมูลพื้นฐานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมีอายุมากกว่ากลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.017) จากการตรวจสารอนุพันธ์ของไอโคเดกทรินในเลือดพบว่า ชั่วโมงที่ 12-14 หลังใส่ไอโคเดกทริน มี DP2, DP3, และ DP4 ในเลือดสูงที่สุดในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม plasma AUC ของไอโคเดกทรินสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับ body mass index ของผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวานและสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ renal creatinine clearance ของผู้ป่วยในงานวิจัยทุกรายที่มีปัสสาวะ ตลอดการวิจัยไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับอินซูลินและกลูโคสในเลือด ขณะใช้น้ำยาไอโคเดกทริน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม สรุปผลการศึกษา: plasma AUC ของไอโคเดกทรินสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับ body mass index ของผู้ป่วยและสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ renal creatinine clearance ของผู้ป่วยในงานวิจัยทุกรายที่มีปัสสาวะ การเพิ่มขึ้นของไอโคเดกทรินและสารอนุพันธ์ของไอโคเดกทรินในเลือด หลังจากใส่น้ำยาไอโคเดกทรินทางช่องท้อง ไม่ได้ทำให้ระดับอินซูลินและกลูโคสในเลือดสูงขึ้นในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม แต่ทำให้ระดับโซเดียมในเลือดลดลงเล็กน้อยแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |