![]() |
การเปรียบเทียบค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย ที่เป็นผลจากความแตกต่างของความยาวของแบบวัด ขนาดกลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลองเครื่องมือ และระยะเวลาในการวัดซ้ำ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การเปรียบเทียบค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย ที่เป็นผลจากความแตกต่างของความยาวของแบบวัด ขนาดกลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลองเครื่องมือ และระยะเวลาในการวัดซ้ำ |
Creator | เสาวณิต กิตตินานนท์ |
Contributor | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | แบบทดสอบทางจิตวิทยา, ชาวไทย -- สุขภาพจิต, Psychological tests, Thais -- Mental health |
Abstract | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ที่มีความยาว 15 ข้อ และ 30 ข้อ เมื่อเปรียบเทียบกับความยาว 54 ข้อ 2) เปรียบเทียบค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ที่ใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลองเครื่องมือ 30, 50 และ 100 คน และ 3) เปรียบเทียบค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ที่มีระยะเวลาในการวัดซ้ำที่ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,400 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ฉบับ 15 ข้อ ฉบับ 30 ข้อ และฉบับ 54 ข้อ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยการนำคะแนนจากการทำแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย มาคำนวณเป็นค่าความเหลื่อมของความแปรปรวน ด้วยสูตรการหาค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนของ Smith et al. (2000) ผลการวิจัย มีดังต่อไปนี้ 1. ค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ที่มีความยาว 15 ข้อ และ 30 ข้อ เมื่อเปรียบเทียบกับความยาว 54 ข้อ พบว่าค่า VO ระหว่างแบบวัดฉบับ 15 ข้อ กับฉบับ 54 ข้อ สูงกว่าแบบวัดฉบับ 30 ข้อ กับฉบับ 54 ข้อ (M[subscript VO15-54] = 575, M[subscript VO30-54] = 0.559) 2. ค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ที่ใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทดลองเครื่องมือ 30, 50 และ 100 คน พบว่าค่า VO ของการวัดด้วยขนาดกลุ่มอย่างจำนวน 30 คนมีค่าสูงที่สุด รองลงมาคือ ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน และต่ำที่สุดคือ ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน (M[subscript VO30s] = 0.829, M[subscript VO50s] = 0.496, M[subscript VO100s] = 0.445) 3. ค่าความเหลื่อมของความแปรปรวนในแบบวัดสุขภาพจิตคนไทย ที่มีระยะเวลาในการวัดซ้ำที่ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ พบว่าค่า VO ของการวัดซ้ำที่ 2 สัปดาห์มีค่าสูงกว่า 4 สัปดาห์ (M[subscript VO2w] = 0.739, M[subscript VO4w] = 0.362) |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |