![]() |
ผลของครีมที่มีสารกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังร่วมกับซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน เปรียบเทียบกับครีมซิลเวอร์ซิงค์ซัลฟาไดอาซีนต่อการเร่งการหายของบาดแผลไฟไหม้ที่มีความหนาบางส่วน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของครีมที่มีสารกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังร่วมกับซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน เปรียบเทียบกับครีมซิลเวอร์ซิงค์ซัลฟาไดอาซีนต่อการเร่งการหายของบาดแผลไฟไหม้ที่มีความหนาบางส่วน |
Creator | นันทพร นามวิริยะโชติ |
Contributor | พรอนงค์ อร่ามวิทย์, พรพรหม เมืองแมน |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | แผลไหม้, ซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน, สารกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนัง, Burns and scalds, Silver sulfadiazine, Epidermal growth factor |
Abstract | ศึกษาผลการรักษาแผลไหม้ที่มีความหนาบางส่วนของครีม ที่มีสารกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังที่มี Epidermal Growth Factor (EGF) ร่วมกับซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน โดยคัดเลือกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยที่มีแผลไหม้ความหนาบางส่วน ที่เข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วย ตึกอุบัติเหตุ ชั้น 4 (หน่วยไฟลวก) โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างเดือนธันวาคม 2554 ถึงเดือนเมษายน 2555 จำนวนทั้งสิ้น 34 คน หลังจากนั้นถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยครีมที่มีสารกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังที่มี EGF ความเข้มข้น 6% ร่วมกับซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน ความเข้มข้น 1% หรือกลุ่มศึกษา และกลุ่มที่ได้รับการรักษาแผลไหม้ด้วยครีมซิลเวอร์ซิงค์ซัลฟาไดอาซีน ความเข้มข้น 1% หรือกลุ่มควบคุม โดยพิจารณาระยะเวลาการปิดบาดแผลเป็นหลัก สำหรับการประเมินร้อยละการเจริญของเซลล์ผิวหนัง ระดับอาการปวด อาการคัน ปริมาณยาระงับอาการปวด อาการคันที่ผู้ป่วยได้รับและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะได้รับการประเมินทุกสัปดาห์จนกระทั่งบาดแผลปิดสนิท ด้วยกระบวนการเจริญของเซลล์ผิวหนัง ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีข้อมูลทั่วไป ข้อมูลพื้นฐานของแผลไหม้ สัญญาณชีพแรกรับ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) จากการศึกษาพบว่า บาดแผลไหม้กลุ่มศึกษามีระยะเวลาการปิดบาดแผลเฉลี่ยน้อยกว่าบาดแผลไหม้กลุ่มควบคุม และมีร้อยละการเจริญของเซลล์ผิวหนังโดยรวมมากกว่าบาดแผลไหม้กลุ่มควบคุม ในทุกระยะการประเมินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในขณะที่ร้อยละการหดรั้งของแผล ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) คะแนนการประเมินอาการปวดและปริมาณยาระงับอาการปวด ที่ผู้ป่วยได้รับชนิดมอร์ฟีนและพาราเซตามอลน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่คะแนนประเมินอาการคันและปริมาณยาระงับอาการคันมีความแตกต่าง อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในระหว่างสองกลุ่ม ข้อมูลด้านความปลอดภัย ไม่พบความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณบาดแผล หรือความผิดปกติเกี่ยวกับปริมาณสารเคมีในเลือด ที่แสดงถึงการทำงานของตับและไต ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับอัลบูมินระหว่างสองกลุ่ม (p > 0.05) ข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายในการรักษา กลุ่มศึกษามีระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่มีความแตกต่างด้านค่าใช้จ่ายจากการรักษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิจัยนี้สรุปได้ว่า การใช้ครีมที่มีสารกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังร่วมกับซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน สามารถเร่งการหายของบาดแผลไหม้ที่มีความหนาบางส่วน โดยไม่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง จึงอาจเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาแผลไหม้ที่มีความหนาบางส่วนต่อไป |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |