![]() |
การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการตอบ จำนวนระดับของมาตรประมาณค่า และระดับชั้นของนักเรียนที่ส่งผลต่อความคงที่ในการตอบแบบสอบถาม : กรณีการสร้างแบบสอบถามสำหรับนักเรียนประถมศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการตอบ จำนวนระดับของมาตรประมาณค่า และระดับชั้นของนักเรียนที่ส่งผลต่อความคงที่ในการตอบแบบสอบถาม : กรณีการสร้างแบบสอบถามสำหรับนักเรียนประถมศึกษา |
Creator | พิมพ์ชนก สีหา |
Contributor | อวยพร เรืองตระกูล |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | แบบสอบถาม, นักเรียนประถมศึกษา, พัฒนาการของเด็ก, Questionnaires, School children, Child development |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคงที่ในการตอบแบบสอบถามเมื่อมีรูปแบบการตอบ จำนวนระดับของมาตรประมาณค่า และระดับชั้นของนักเรียนแตกต่างกัน 2) วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการตอบ จำนวนระดับของมาตรประมาณค่า และระดับชั้นของนักเรียนที่ส่งผลต่อความคงที่ในการตอบ และ 3) วิเคราะห์รูปแบบการตอบ และจำนวนระดับของมาตรประมาณค่าที่เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละระดับชั้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 5 และ 6 ในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามนิสัยรักการอ่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความคงที่ในการตอบแบบสอบถามที่มีรูปแบบการตอบ และจำนวนระดับของมาตรประมาณค่าที่แตกต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความคงที่ในการตอบแบบสอบถามของนักเรียนแต่ละระดับชั้นไม่แตกต่างกัน โดยรูปแบบการตอบแบบเรียงลำดับรูปหน้าและแบบเส้นตรงมีคะแนนความคงที่สูงกว่ารูปแบบการตอบแบบตัวเลข และจำนวนระดับของมาตรประมาณค่า 5 ระดับมีคะแนนความคงที่สูงกว่า 3 ระดับ 2) รูปแบบการตอบ จำนวนระดับของมาตรประมาณค่า และระดับชั้นของนักเรียนไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่มีผลต่อคะแนนความคงที่ในการตอบแบบสอบถาม แต่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการตอบและจำนวนระดับของมาตรประมาณ โดยรูปแบบการตอบแบบเส้นตรงที่มีระดับของมาตรประมาณค่า 3 ระดับ และ 5 ระดับมีคะแนนความคงที่ไม่ต่างกัน แต่รูปแบบการตอบแบบเรียงลำดับรูปหน้าและแบบตัวเลขที่มีระดับของมาตรประมาณค่า 5 ระดับมีคะแนนความคงที่ในการตอบสูงกว่า 3 ระดับ 3) แบบสอบถามที่มีรูปแบบการตอบแบบเส้นตรงและมีระดับของมาตรประมาณค่า 3 ระดับ และ 5 ระดับ และแบบสอบถามที่มีรูปแบบการตอบแบบเรียงลำดับรูปหน้าและแบบตัวเลขที่มีระดับของมาตรประมาณค่า 5 ระดับเหมาะสมกับนักเรียนทั้ง 3 ระดับชั้น |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |