![]() |
การพัฒนาตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านการวิจัยสำหรับมหาวิทยาลัยวิจัย โดยประยุกต์ใช้เทคนิคดุลยภาพ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนาตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านการวิจัยสำหรับมหาวิทยาลัยวิจัย โดยประยุกต์ใช้เทคนิคดุลยภาพ |
Creator | เพ็ญศรี ทิพย์สุวรรณกุล |
Contributor | ปทีป เมธาคุณวุฒิ, ศิริเดช สุชีวะ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | สถาบันอุดมศึกษา -- ไทย -- การบริหาร, สถาบันวิจัย -- ไทย -- การบริหาร, การประเมินผลงาน, มาตรฐานการทำงาน, สมรรถนะ -- การวัด, Universities and colleges -- Thailand -- Administration, Research institutes -- Thailand -- Administration, Job evaluation, Performance standards, Performance -- Measurement |
Abstract | วิเคราะห์กลยุทธ์ด้านการวิจัย พัฒนาตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านการวิจัย โดยใช้เทคนิคดุลยภาพ วิเคราะห์ค่าน้ำหนักของตัวชี้วัด และเสนอแนวทางในการนำตัวชี้วัดและค่าน้ำหนักไปใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยวิจัย ดำเนินการวิจัยโดยการวิเคราะห์กลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยวิจัย 16 แห่ง และสัมภาษณ์ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเพื่อกำหนดรายการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการวิจัย แล้วสร้างแบบสอบถามเพื่อสอบถามสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานวิจัยของมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่อาจารย์มหาวิทยาลัยวิจัย ที่มีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าระดับรองศาสตราจารย์ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ได้องค์ประกอบเบื้องต้น 10 องค์ประกอบ 56 ตัวแปร เลือกองค์ประกอบที่มีตัวแปรตั้งแต่ 3 ตัวแปรขึ้นไป และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.5 ขึ้นไป เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อยืนยันองค์ประกอบและตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยวิจัย รวมทั้งหาค่าน้ำหนักองค์ประกอบและตัวชี้วัด จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดตามมุมมองเทคนิคดุลยภาพ ตรวจสอบคุณภาพตัวชี้วัดและเสนอแนะแนวทางการนำไปใช้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลยุทธ์ด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยวิจัยประกอบด้วย 10 กลุ่มกลยุทธ์ 2. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยวิจัยมี 52 ตัวชี้วัด 8 องค์ประกอบ 3. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยวิจัย จำแนกตามมุมมองเทคนิคดุลยภาพ และมีค่าน้ำหนัก ดังนี้ 3.1 มุมมองด้านการเงิน 5 ตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก 4.75% ประกอบด้วยองค์ประกอบระบบงบประมาณและการสนับสนุนการวิจัย 5 ตัวชี้วัด 3.2 มุมมองด้านผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 16 ตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก 32.00% แยกเป็น ก. นักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัย 8 ตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก 11.00% ประกอบด้วยองค์ประกอบบัณฑิตศึกษาและการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ 8 ตัวชี้วัด และ ข. สังคม ประเทศ 8 ตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก 21.00% ประกอบด้วยองค์ประกอบทรัพย์สินทางปัญญา 3 ตัวชี้วัด และการใช้ประโยชน์งานวิจัย 5 ตัวชี้วัด 3.3 มุมมองด้านกระบวนการภายใน 22 ตัวชี้วัดค่าน้ำหนัก 34.25% ประกอบด้วยองค์ประกอบระบบงบประมาณและการสนับสนุนการวิจัย 8 ตัวชี้วัด เป้าหมายและกลยุทธ์ 8 ตัวชี้วัด และบรรยากาศและสิ่งอำนวยความสะดวก 6 ตัวชี้วัด 3.4 มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา 9 ตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก 29.00% ประกอบด้วยองค์ประกอบการพัฒนาบุคลากร 4 ตัวชี้วัด และการสร้างเครือข่ายและการดำเนินงานร่วมกับเครือข่าย 5 ตัวชี้วัด 4. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านการวิจันนี้สามารถนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่กำกับติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยวิจัย สามารถใช้ตัวชี้วัดดังกล่าวเพื่อการติดตามและพัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัยวิจัย จากผลการวิจัย ถือได้ว่ามุมมองด้านกระบวนการภายในและด้านผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นมุมมองที่สำคัญในการประเมินผลการดำเนินงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยวิจัยไทย (มีค่าน้ำหนักรวมกันเป็น 66.25%) และสอดคล้องกับลักษณะของมหาวิทยาลัยที่เป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร อย่างไรก็ตามมุมมองการเงินที่เกี่ยวกับการจัดการงบประมาณ แม้จะมีน้ำหนักน้อยแต่ก็จำเป็นสำหรับองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรเช่นกัน |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |